Front-End VS Back-End Developer คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?

กว่าจะเป็นเว็บไซต์มาให้ทุกคนเล่นกันได้นั้น ทุกอย่างถูกพัฒนากันมาอย่างหนักหนาสาหัส ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบดีไซน์จนถึงการเขียนเว็บไซต์ซึ่งต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทางมาช่วยเท่านั้น Developer หรือนักพัฒนาจึงจำเป็นอย่างมากในวงการนี้ โครงสร้างของเว็บไซต์หลักๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ Front-End และ Back-End ดังนั้นในวันนี้เราจึงพาทุกคนมาปูพื้นฐานสาย Development ไปพร้อมๆ กัน

Front-End คืออะไร?

Front-End คือ ส่วนที่นักพัฒนาเขียนขึ้นมาเพื่อแสดงเป็นหน้าเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานได้เห็น ฝ่ายพัฒนามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “หน้าบ้าน” ในส่วนนี้ผู้ที่เข้ามาใช้งานจะสามารถกดปุ่มหรือทำการโต้ตอบได้ตามฟังก์ชันที่นักพัฒนาเขียนโปรแกรมเอาไว้ ซึ่งในการพัฒนาระบบนั้น Developer ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาเฉพาะเช่นกัน สำหรับฝั่ง Front-End จะมีทั้งหมด 3 ภาษาด้วยกันที่นิยมใช้งานคือ

  • HTML
  • CSS
  • JavaScript

หากคุณสนใจในสายงานนี้ ทั้งสามภาษาก็เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้เอาไว้แต่เนิ่นๆ เนื่องจากภาษาเหล่านี้คือพื้นฐานสำคัญในการเขียนโปรแกรมฝั่งหน้าบ้าน ภาษาแต่ละตัวจะถูกหยิบมาใช้งานแตกต่างกันไปโดยหลักๆ แล้วจะต้องมีการใช้งานร่วมกับ JavaScript ที่มีฟังก์ชันมากมายให้เรียนรู้

Back-End คืออะไร?

Back-End คือ ส่วนที่นักพัฒนาเขียนขึ้นมาเพื่อแสดงผลเบื้องหลัง เรียกได้ว่าเป็นฝั่งการทำงานที่มีเพียงเจ้าของเว็บไซต์ นักพัฒนาและผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้ามาได้ ฝ่ายพัฒนาจึงเรียกส่วนนี้กันว่า “หลังบ้าน” หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ Back-End ก็เหมือนห้องเก็บของที่ต้องมีกุญแจไขเข้ามา ภายในเก็บข้อมูลสำคัญของเว็บไซต์เอาไว้มากมาย ยิ่งถ้าหากเป็นเว็บไซต์ที่ต้องมีการสมัครสมาชิก การจัดการระบบหลังบ้านให้เป็นระเบียบก็จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานหลังบ้านสะดวกพร้อมทั้งประหยัดงบประมาณได้เป็นอย่างมาก เรียกว่าเป็นจุดของการ Export ข้อมูลเพื่อนำไปทำ Report รายงานลูกค้าก็ว่าได้ ฝั่งนี้ก็จะมี 3 ภาษาที่นิยมนำมาใช้เขียนพัฒนาโปรแกรมเช่นกันคือ

  • PHP
  • Ruby
  • Python

ภาษาสำหรับการพัฒนาหลังบ้านนั้นก็มีความแตกต่างกันไป แต่ละภาษามีความเหมาะสมแตกต่างกัน ทำให้ในการสมัครงานบางครั้งคุณอาจพบได้ว่าตำแหน่ง Back-End Developer มักจะมีระบุเรื่องการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาด้วย

สรุปสั้นๆ ได้ว่า Front-End นั้นคือการเขียนโปรแกรมเพื่อให้คนภายนอกเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ได้ตามฟังก์ชันที่ออกแบบไว้ แต่ Back-End เขียนขึ้นมาเพื่อให้ภายในทีมหรือผู้ได้รับอนุญาตเข้าใช้งานเท่านั้น 

Python coding

ความแตกต่างของ Front-End และ Back-End Developer

มาถึงตรงนี้คงเดากันได้แล้วว่าความแตกต่างของ Front-End และ Back-End Developer คืออะไร หลักๆ แล้วก็คือหน้าที่ในการทำงานนั่นเอง นักพัฒนาทั้งสองส่วนนี้รู้ว่าตัวเองต้องมีภาษาในการใช้พัฒนาโปรแกรมและกลุ่มผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน ทักษะที่นำมาใช้งานจึงต้องแยกกันอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่พัฒนาด้านหนึ่งก็จะมีความรู้อีกด้านหนึ่งแบบเผินๆ เท่านั้น ไม่สามารถลงลึกได้

เรียกได้ว่าถ้าขาด Front-End และ Back-End Developer ไป เว็บไซต์ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย อย่างไรก็ตามคุณสามารถพบเจอนักพัฒนา Full Stack Developer ได้เช่นกัน นักพัฒนาสายนี้จะมีความคุ้นเคยกับทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน มักจะเป็นนักพัฒนาที่ใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์อย่างยาวนานเพื่อนำมาเขียนเว็บไซต์โดยรวมทั้งหมด บอกเลยว่าสำคัญไม่แพ้กับนักพัฒนาที่เราแนะนำให้รู้จักกันในวันนี้เลยทีเดียว

ท้ายสุด สำหรับหลายคนที่กำลังเริ่มทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก หรือกำลังอยากย้ายโฮสติ้งพอดี อย่าลืมแวะไปดูแพ็กเกจเว็บโฮงติ้งจาก VPS Hispeed กันนะ แพ็คเกจของเรามีหลากหลาย รองรับลูกค้าหลายประเภท แม้จะเป็นมือใหม่ก็ใช้งานได้ไม่ยาก สนใจติดต่อที่อีเมล [email protected] หรือทางเบอร์โทรศัพท์ 093 173 0181, 096 238 7242, 082 018 9138

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review