คู่มือสอน WooCommerce และวิธีใช้ฉบับปี 2019

การขายของทางออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ถ้าคุณได้มาลองทำเว็บไซต์ ด้วย WordPress และ WooCommerce บทความชุดนี้ จะเป็นตัวช่วยให้คุณได้! คู่มือสอน WooCommerce และวิธีใช้ฉบับปี 2019 สำหรับมือใหม่หัดขายของบนโลกออนไลน์ในแบบ E-commerce และเนื่องจากรายละเอียดเกี่ยวกับ WooCommerce มีเยอะมาก วันนี้เราจึงได้รวบรวมและสรุป วิธีใช้ คู่มือติดตั้งแบบภาษาไทยมาให้ทุกคนได้เลยรู้ไปพร้อมๆ กัน!

WooCommerce คืออะไร?

WooCommerce คือ ปลั๊กอินที่เปรียบเสมือนเสื้อผ้าที่สวมใส่เว็บ WordPress ธรรมดาๆ ของเราให้กลายเป็นเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ที่น่าสนใจที่สุด ใครจะรู้ว่าในปัจจุบัน 47% คือ สถิติที่มีเว็บร้านค้าออนไลน์ ที่ใช้ WooCommerce จากทั้งโลก ทั้งยังสามารถดาวน์โหลดตัวปลั๊กอินนี้มาใช้ฟรีๆ ได้อีกด้วย 

ทำไมต้องใช้ WooCommerce?

แน่นอนว่าเหตุผลหลักที่เห็นชัดๆ ว่าทำไมต้องใช้ WooCommerce คือ สามารถโหลดมาใช้ได้ฟรีนั่นเอง ง่ายๆ คือ ช่วยให้เราสามารถเริ่มต้น สร้างเว็บขายของออนไลน์แบบแทบไม่ต้องเสียต้นทุน แถมยังใช้ง่ายสุดๆ ไม่ต้องเขียนโค้ด ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพ่อค้า แม่ค้าธรรมดาทั่วไปที่อยากทันโลก ก็สามารถโหลดมาใช้งานได้เลย มีอุปกรณ์เสริมแต่งให้สวยให้หล่ออีกเพียบ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องจาก บริษัท Automatic ผู้อยู่เบื้องหลัง WordPress.org และ WordPress.com

หน้าตาของเว็บ ecommerce ที่ติดตั้ง WooCommerce

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นใช้งาน WooCommerce

1.  อย่างที่เราบอกไปข้างต้นว่า WordPress และ WooCommerce จะมีการอัปเดตตลอด ดังนั้นสำหรับพ่อค้า แม่ค้า คนไหนที่หันมาขายของแบบตามให้ทันโลก อย่างอีคอมเมิร์ส ก็ต้องหมั่นเรียนรู้วิธีการดูแลเว็บ และคอยอัปเดตเว็บอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เว็บขายของของเรา สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ที่สำคัญเลยก็คือ ช่วยลดความเสี่ยงของการถูกแฮ็กให้น้อยลงด้วย

2. เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ประเภทของเว็บร้านค้าออนไลน์นั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เว็บร้านค้ารายเดียว และ เว็บร้านค้าที่เป็นตลาดกลาง (Market place) เช่น Lazada, Amazon Kaidee ซึ่ง WooCommerce ของเรานี้ สามารถสร้างเว็บได้ทั้ง 2 แบบ แต่อย่างไรเราก็ขอแนะนำ ให้คุณเปิดเป็นร้านค้าแบบแรกดีกว่า เพราะ WooCommerce มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับแบบร้านค้ารายเดียวมากกว่า

3. ถึงแม้โฮสทุกโฮสทำเว็บได้หมด แต่ก็ไม่ทุกโฮสเหมาะกับเว็บ WordPress และ WooCommerce นะ เพราะจากปัญหาที่เจอของโฮสที่มีชื่อเสียง คือ ค่อนข้างจะจำกัดการใช้งานของลูกค้าระดับ Share Host หรือระดับของคนเริ่มต้นเปิดเว็บขายของที่มีราคาถูก เอาใจสายบุกเบิกแต่จำกัดการใช้งาน อย่างเช่น ลง WordPress เองไม่ได้ อัปเดต WordPress ไม่ได้ จำกัดพวกหน่วยความจำในส่วนของ PHP ดังนั้น เราต้องศึกษาดีๆ ก่อนเช่าพื้นที่เว็บไซต์

ถ้าจะให้ดีที่สุดควรเลือกเว็บโฮสในลักษณะที่เป็น WordPress Hosting เลยจะได้มั่นใจว่าเหมาะสมกับ WordPress และจะไม่มีปัญหาอื่นเมื่อมาปรับแต่งลูกเล่นต่างๆ กันเว็บไซต์ในภายหลัง

คู่มือสอนการติดตั้งและวิธีใช้ WooCommerce 

อันดันแรกเราต้องศึกษาและยึดกลุ่มลูกค้าของเราเสียก่อน หากลูกค้าของเราส่วนใหญ่เป็นคนไทย แต่เราอยากให้เว็บเราสวยๆ ดูอินเตอร์ เราก็ตั้งค่าให้พวกเมนูการใช้งานบนหน้าควบคุม หรือ Dashboard เป็นภาษาอังกฤษ และรายละเอียดอื่นๆ เป็นระบบภาษาไทย ซึ่งมีวิธีการเปลี่ยน ดังนี้ 

วิธีการเปลี่ยนภาษาบนเว็บของเรา ให้เราไปที่ Settings > General > Site Language

เลือก setting และ general
เลือกภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามสะดวก

การติดตั้งปลั๊กอิน WooCommerce เวอร์ชั่น 3.4+ มีดังนี้

  • สำหรับเว็บใครที่ยังไม่ได้ลงปลั๊กอิน

ให้เราไปที่ plugin > add new > ค้นหาชื่อปลั๊กอิน WooCommerce > แล้วคลิก install กับ Activate ได้เลย 

ไปที่ plugins เลือก add new
เสริชหา WooCommerce
กด Install รอให้การติดตั้งเสร็จสิ้น
กด activate
  • กรอกข้อมูลให้ครบทุกช่องเพื่อไปต่อ

เมื่อเราคลิก Activate ระบบจะพาเราเข้าสู่หน้า Wizard ซึ่งเราต้องกรอกข้อมูลใส่ให้ครบทุกช่องก่อน จะกรอกเป็นภาษาไทย หรืออังกฤษก็ได้ แต่ต้องครบทุกช่อง เพราะหากใส่ไม่ครบ เราจะไม่สามารถทำขั้นตอนต่อไปได้ 

กรอกข้อมูลให้ครบหรือจะ skip ไว้ไปกรอกทีหลังเมื่อพร้อมแล้วก็ได้
  • สำหรับคนที่ติดตั้ง WooCommerce แล้ว

หากเราต้องการจะลงธีมสวยๆ ให้เรากลับไปที่หลังบ้าน โดยคลิก Dashboard หรือหน้าควบคุม และคลิก Run the Setup Wizard เพื่อจะได้เข้าสู่โหมด ตั้งค่าพื้นฐานของ WooCommerce และทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ แบบพร้อมๆ กันเลย

สามารถตั้งค่าต่างๆ ให้กับปลั๊กอินที่โหลดมาเมื่อกด Run the Setup Wizard
  • Let’s Go! ตั้งค่าหน้า payment

ให้เราคลิก Let’s go! ต่อได้เลย มันจะนำเรา ไปยังหน้าตั้งค่า Payment ให้เราคลิกเปิดใช้งาน Bank transfer (BACS) payments จากนั้น คลิก Continue และในส่วนของ Shipping ให้เราปิดการใช้งานก่อน และเดี๋ยวเราจะกลับมาตั้งค่าการจัดส่งกันใหม่ จากนั้นคลิก Continue หากขึ้นหน้า Recommended setup และ Jetpack ให้เราคลิก Skip this step เพื่อข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย เพราะตอนนี้เรายังไม่จำเป็นต้องใช้ตอนนี้ค่ะ

  • คลิกที่คำว่า Visit Dashboard เป็นอันเสร็จสิ้น

เมื่อเข้าสู่หน้าสุดท้ายของขั้นตอนติดตั้งปลั๊กอิน WooCommerce แล้ว ให้เราคลิกที่ Visit Dashboard ได้เลย หลังจากนี้ จะเป็นกระบวนการตั้งค่าเมนูต่างๆ ในร้านค้าของเรา ดังนั้นก่อนอื่น เราต้องมาเช็กก่อนว่า ตอนนี้เรามีระบบขายสินค้าหน้า (page) ครบหมดแล้วหรือยัง?  ซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 หน้า ได้แก่ Cart, Checkout, My Account และ Shop ซึ่งหน้าต่างเหล่านี้จะถูกสร้างอัตโนมัติ ผ่านขั้นตอน wizard ตอนลงปลั๊กอินนั่นเองค่ะ

มาถึงขั้นตอนนี้พร้อมกันแล้วหรือยังคะ ที่จะมาเป็น พ่อค้า แม่ค้าสาย E-commerce กับ WooCommerce ที่จะทำให้ร้านค้าของคุณเป็นร้านค้าออนไลน์ที่ใหญ่ สวยงาม และน่าเชื่อถือในยุค 4.0 นี้ ถึงใครๆ จะขายออนไลน์ได้ แต่บอกเลยว่าอนาคตต่อไปที่ไม่มีใครรู้กลไกโลก คงไม่ดีแน่หากคุณ ไม่ทำเว็บไซต์ของคุณเองไว้ก่อนกับ WooCommerce!

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่สนใจจะทำเว็บไซต์จาก WordPress ด้วยตัวเองแล้วกำลังมองหา Web Hosting สำหรับ WordPress ลองพิจารณาแพ็กเกจเว็บโฮงติ้งจากเราดู สามารถย้ายโฮสได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ไร้สัญญาผูกมัด สามารถใช้ร่วมได้กับทุกรูปแบบธุรกิจ รู้แบบนี้ ก็อย่าปล่อยให้โอกาสทางธุรกิจของคุณต้องเสี่ยงกับปัญหาและเปลี่ยนมาเพิ่มทั้งโอกาสและความมั่นใจโดยให้ VPS HiSpeed ของเราช่วยดูแลเว็บไซต์ของคุณดีกว่าครับ สนใจติดต่อที่อีเมล [email protected] หรือทางเบอร์โทรศัพท์ 093 173 0181 , 096 238 7242 , 082 018 9138

วิธีการลง WordPress บน VPS HiSpeed
WordPress Hosting ราคาถูก จาก VPS HiSpeed
small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review