วิธีสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ทำยังไงบ้าง ไม่ต้องเขียนเว็บเอง!

สำหรับใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือคิดอยากจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ก็คงจะเคยคิดแวบๆ กันขึ้นมาในหัวบ้างแหละว่าการจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองนั้นมันยากขนาดไหน แถมต้องมานั่งตกแต่งและเขียนเว็บขึ้นมาเองอีก

ซึ่งไม่ว่าเราจะอยากเขียนบล็อกให้ความรู้คน หรือเขียนเพื่อบอกเล่าเรื่องราว เราต่างก็ต้องใช้เว็บไซต์เพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเราและผู้รับสารกันทั้งนั้น ซึ่งถ้าหากได้อ่านบทความนี้เข้าไป รับรองได้เลยล่ะว่า ทุกคนจะต้องลบภาพความยากเหล่านั้นไปจากหัวได้แน่นอน เพราะแท้ที่จริงแล้ว การสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองในสมัยนี้ มันไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย เมื่อได้มารู้จักกับ WordPress!

ความดีงามของ WordPress!

สำหรับใครๆ ที่เคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของ WordPress แต่ไม่เคยรู้จักกับความดีงามของมันมาก่อนล่ะก็ เราจะบอกให้รู้กัน

WordPress หรือ CMS (Content Management System) ก็คือระบบการบริหารจัดการเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต หรือเป็นตัวช่วยในการช่วยเราสร้างเว็บไซต์นั่นเองล่ะ 

ในการจะสร้างเว็บไซต์ของตัวเองได้นั้น ต้องมีอะไรบ้าง 

1. ชื่อโดเมน (Domain Name) 

ชื่อโดเมน พูดง่ายๆ ก็คือ ชื่อเว็บไซต์ของเรานั่นแหละ โดยหลักๆ เราต้องคำนึงก่อน ว่าเราต้องการจะเปิดธุรกิจหรือบริษัทเกี่ยวกับด้านไหน ถ้าเกี่ยวกับเกม แน่นอนล่ะว่า ชื่อโดเมนก็ควรมีคำว่า game แฝงตัวอยู่ หรือถ้าเกี่ยวกับธุรกิจอาหารก็ควรจะมีชื่อสินค้าหรือเมนูหลักๆ ที่เราต้องการมาตั้ง อะไรทำนองนี้นั่นเอง 

2. ไฟล์เว็บไซต์ของคุณ (Source Code Website) 

โดยทั่วไปแล้ว ไฟล์เว็บไซต์มักจะเป็นนามสกุล htm, html, php, asp, aspx ซึ่งสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้มากนั้น เราก็ขอแนะนำให้เลือกหา CMS แบบฟรี อย่างเช่น เว็บบล็อก (WordPress), เว็บร้านค้าออนไลน์ (Opencart, Magento), เว็บบอร์ด (phpBB3, SMF) อะไรทำนองนี้มาติดตั้งเป็นไฟล์เว็บไซต์เราได้เลย 

3. พื้นที่เว็บไซต์ หรือเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) 

ต่อจากนั้น เราก็มาเลือกพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ที่เราต้องการจัดเก็บไฟล์ และเพียงเท่านี้เราก็จะนำข้อมูลลงเว็บไซต์ได้แล้วล่ะ

ขั้นตอนการเตรียมตัวสร้างเว็บไซต์

1. เตรียมที่อยู่สำหรับเว็บไซต์

ก่อนจะมีเว็บไซต์ ก็ต้องหาที่อยู่เว็บไซต์ให้มันซะก่อน ซึ่งที่อยู่เว็บไซต์ก็คือ Domain Name นั่นเอง โดยในปัจจุบัน Hosting ที่ให้บริการทางด้านนี้ก็มีเยอะแยะมากมายให้เลือกสรรเลยล่ะ โดยเราก็สามารถเลือกได้เลย รักคนไหน เลือกคนนั้นตามความเหมาะสมกันได้เลย ซึ่งพอเลือกแพ็คเกจได้แล้ว เราก็จะทำการจด Domain Name กันต่อนั่นเอง 

ซึ่งสำหรับเรื่องราคานั้น ก็จะมีเยอะแยะมากมายตามท้องเรื่อง โดยเราจะเห็นกันได้เลยว่า โฮสติ้งแบบ Customize Hosting นั้นจะมีราคาสูงกว่าโฮสติ้งแบบธรรมดา ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมชาติแหละ เพราะแบบ Customize นั้น เราจะสามารถเลือกค่าต่างๆ ได้ตามที่เราต้องการ พร้อมอัปเดตเวอร์ชั่นต่างๆ มาให้แล้วพร้อมเสร็จสรรพด้วยเช่นกัน

และไม่ว่าเราจะเลือกแบบไหนก็ตาม สุดท้ายเราจะรู้ได้เองว่าแบบไหนที่มันตอบโจทย์กับการใช้งานของเราที่สุด ซึ่งเมื่อเลือกได้แล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการชำระเงิน แล้วรอรับการยืนยันเพื่อใช้งาน Hosting กับ Domain Name กันต่อได้เลย

2. ดาวน์โหลดเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้  

ขั้นตอนต่อมาก็เตรียมไปดาวน์โหลดโปรแกรมที่มีชื่อว่า WordPress และ FileZilla กันต่อได้เลย เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วก็ทำการ Install ให้เรียบร้อยเพื่อเปิดใช้งานโปรแกรม 

– กดเปิดโปรแกรม FileZilla ขึ้นมา แล้วกรอกรายละเอียด FTP Account ตามที่ได้รับในอีเมล
– กด Quickconnect แล้ว Directory ด้านล่างจะขึ้นมา
– จากนั้นไปที่ Folder
– กดไปที่ Public_html
– กดแตก Zip File ของโปรแกรม WordPress ที่เพิ่งดาวน์โหลดกันมา
– เข้าไปที่ Folder WordPress
– Copy ไฟล์ต่างๆ ของโฟลเดอร์นั้นไปวางใน public_html

ช่องทางในการดาวน์โหลด
WordPress : https://wordpress.org/download/
FileZilla : https://filezilla-project.org/download.php?type=client

3 ติดตั้ง WordPress และทำการสร้าง Database

หลังจากที่เราก็อปปี้ไฟล์ทั้งหมดลง Directory เรียบร้อยแล้ว

– ไปลองเรียก Domain Name ในเว็บบราวเซอร์
– กด Continue
– สร้าง Database ใน DirectAdmin ของ Hosting
– เข้า DirectAdmin จากลิงก์ที่เราได้รับในอีเมล
– ทำการ Log in เข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย
– จากนั้นให้เลือก Create New Database 
– นำข้อมูลกลับไปใส่ที่หน้าเว็บบราวเซอร์ที่ได้ติดตั้งไว้
– กด Submit แล้วรอสัก 2-3 นาที  

และเพียงเท่านี้แหละ เราก็จะได้เห็นกันแบบเต็มที่แล้ว การจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญอะไรอย่างที่เราเคยคิดๆ กันไว้เลย ซึ่งเราก็จะสามารถครอบครองเว็บไซต์เป็นของตัวเองโดยที่ไม่ต้องไปเสียเวลานั่งเขียนเว็บเองให้ยากเย็นแสนสาหัสกันต่อไป 

อีกทั้งการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเนี่ย มันดีหลายอย่างมากๆ เลยนะ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบล็อกให้กำลังใจคน ให้ความรู้คน บอกเล่าเรื่องราวเก้าสิบ หรือเพื่อเป็นการเอื้ออำนวยช่องทางการขายสินค้าหากเราทำธุรกิจ ก็สามารถทำได้แบบง่ายๆ แถมยังเป็นเครื่องมือในการการันตีการมีตัวตนอยู่ของธุรกิจเรา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่ดังหรือธรรมดา เมื่อมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองก็ถือเป็นเครดิตในการสร้างความน่าเชื่อถือได้ด้วย และเมื่อเราได้รู้จักกับ WordPress ทุกๆ อย่างก็เลยกลายเป็นเรื่องง่ายที่ดูลงตัวไปหมดซะทุกอย่างในพริบตาเลยทีเดียว 

small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review