เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ช่องทางการจัดเก็บและใช้งานข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ระบบ Hybrid Cloud มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน มาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีคลาวด์ประเภทนี้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งความหมาย ข้อดี-ข้อเสีย รวมถึงเทคนิคการใช้งานให้เหมาะสม
Hybrid Cloud คืออะไร?
Hybrid Cloud หมายถึงส่วนหนึ่งของระบบ Cloud Computing ซึ่ง Cloud Computing Technology ก็คือเทคโนโลยีที่ให้บริการระบบออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยระบบ Hybrid Cloud จะเป็นการนำโครงสร้างของ Private Cloud (คลาวด์ส่วนตัว) และ Public Cloud (คลาวด์สาธารณะ) มาเชื่อมต่อผ่าน Private Link Connection ซึ่งเป็นลิงก์ส่วนตัว พร้อมทั้งมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ Public Sphere และ Private Sphere ที่ช่วยเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างปลอดภัยระหว่างการรับ-ส่งข้อมูล
โครงสร้างและการทำงานของ Hybrid Cloud
โครงสร้างของ Hybrid Cloud หรือ Hybrid IT and Cloud Computing คือการผสานระหว่าง Private และ Public Cloud ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานได้บนทุกแพลตฟอร์มและทุกช่องทาง ทำให้ผู้ใช้สามารถประเมินความเหมาะสมในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีคลาวด์ได้ หลักการทำงานของ Hybrid Cloud จะเน้นไปที่การจัดการทรัพยากรแบบไดนามิก รวมถึงการย้ายข้อมูลระหว่างคลาวด์ผ่านการออกแบบที่รองรับการเคลื่อนย้าย (Portability) นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานขององค์กรต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ตัวอย่างของ Hybrid Cloud
เมื่อเข้าใจแล้วว่าระบบ Hybrid Cloud คืออะไร เรามาดู Hybrid Cloud ตัวอย่างที่จะทำให้เราเห็นภาพชัดมากขึ้น เช่น ในกรณีที่องค์กรมีข้อมูลจำนวนมากที่ต้องจัดเก็บและประมวลผล องค์กรก็สามารถแบ่งสัดส่วนข้อมูลสำคัญที่ไม่ต้องการให้รั่วไหลไปภายนอกไว้บน Private Cloud ได้ ขณะที่ข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ต้องป้องกันเป็นพิเศษก็สามารถจัดเก็บและประมวลผลผ่าน Public Cloud เพื่อช่วยลดต้นทุนไปในตัวได้ นอกจากนี้ Hybrid Cloud ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ใช้เป็น Host สำหรับจัดการเว็บไซต์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Website) ใช้ส่งมอบเว็บแอปพลิเคชันผ่านระบบ VPN เพื่อป้องกันการถูกขโมยหรือดักจับข้อมูล เป็นต้น ด้วยความยืดหยุ่นนี้ Hybrid Cloud จึงได้รับความนิยมอย่างมากในองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีพนักงานหลายภาคส่วน
ข้อดีของ Hybrid Cloud มีอะไรบ้าง?
ปฏิเสธไม่ได้ว่า Hybrid Cloud ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Hybrid Cloud Computing ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูลออนไลน์ ช่วยให้ทั้งองค์กรและผู้ใช้ได้รับความปลอดภัยและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น มาดูข้อดีของ Hybrid Cloud กันเลย
ใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น
ด้วยการทำงานร่วมกันของทั้ง Private Cloud และ Public Cloud ทำให้องค์กรสามารถปรับแต่งการใช้งาน Hybrid Cloud ได้อย่างยืดหยุ่น ยกตัวอย่างเช่น หากเดิมต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวบน Private Cloud 40% องค์กรก็สามารถเพิ่มหรือลดปริมาณได้ตามความเหมาะสม และเลือกนำข้อมูลส่วนที่เหลือไปใช้กับ Public Cloud แทนได้เลย
ประหยัดต้นทุนขององค์กร
โดยปกติแล้ว Private Cloud จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า Public Cloud ดังนั้นเมื่อใช้ Hybrid Cloud หากข้อมูลใดไม่มีความจำเป็นต้องเก็บรักษาเป็นความลับ หรือสามารถเปิดเผยได้ องค์กรก็สามารถย้ายข้อมูลจาก Private Cloud ไปยัง Public Cloud ได้ นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลแล้ว ยังช่วยประหยัดพื้นที่บนคลาวด์ส่วนตัวอีกด้วย
รองรับการส่งแอปพลิเคชันที่ปรับขนาดได้
ระบบ Hybrid Cloud สามารถรองรับการส่งแอปพลิเคชันที่สามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ โดยแอปพลิเคชันจะทำงานร่วมกับฐานข้อมูลของลูกค้าซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมข้อมูลได้
ใช้บริหารจัดการ Consumer Website ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไฮบริดคลาวด์สามารถใช้เป็นตัวควบคุมหลักสำหรับการบริหารจัดการ Consumer Website (เว็บไซต์สำหรับผู้บริโภค) ได้ เพราะมีลักษณะเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ตทั่วไป ทำให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น
ช่วยกู้คืนข้อมูลหากเกิดการโจมตีทางไซเบอร์
หากเกิดการคุกคามหรือถูกโจมตีทางไซเบอร์ ระบบไฮบริดคลาวด์ก็สามารถกู้คืนข้อมูลจากหน่วยความจำสำรอง รวมถึงบันทึกสถานะของ Virtual Machine จากระยะไกล เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานในอนาคตได้ ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ข้อเสียของ Hybrid Cloud มีอะไรบ้าง?
แม้ว่าระบบ Hybrid Cloud จะมีข้อดีหลายด้าน แต่ก็ยังมีข้อเสียที่ควรพิจารณาเพื่อใช้เปรียบเทียบก่อนตัดสินใจนำมาใช้งาน
มีความซับซ้อนในการใช้งาน
เนื่องจาก Hybrid Cloud เป็นระบบที่เชื่อมโยงระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud ทำให้ต้องใช้เทคนิคที่ค่อนข้างซับซ้อนในการจัดการ เช่น การดูแลระบบผ่านหลายแพลตฟอร์ม เพื่อให้มั่นใจว่าจะใช้งานได้ตามที่คาดหวัง
ต้องใช้เวลาในการถ่ายโอนข้อมูล
การถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud อาจใช้เวลานาน โดยเฉพาะเมื่อต้องย้ายข้อมูลขนาดใหญ่หรือจำนวนมาก เพราะข้อมูลไม่ได้อยู่ภายในระบบคลาวด์ประเภทเดียวกัน
การใช้งาน Hybrid Cloud ในโลกธุรกิจ
จากตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จะเห็นได้ว่าระบบ Hybrid Cloud ได้รับความนิยมมากขึ้นในโลกธุรกิจ โดยสามารถแบ่งรายละเอียดการประยุกต์ใช้ Cloud Computing ในด้านธุรกิจออกได้ ดังนี้
เพิ่มความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลขององค์กร
องค์กรสามารถใช้ Hybrid Cloud ในการรักษาข้อมูลที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ข้อมูลฐานลูกค้า ข้อมูลเงินเดือนพนักงาน หรือฐานข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลทุกอย่างบนคลาวด์ส่วนตัว จึงไม่สิ้นเปลืองต้นทุนจากการเก็บข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ทั้งหมด
ใช้เป็น Corporate Network ขององค์กร
ระบบไฮบริดคลาวด์สามารถถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของ Corporate Network ได้ เช่น การย้ายแอปพลิเคชันหรือข้อมูลจาก Public Cloud ไปยัง Private Cloud เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบ และยังสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือถอนการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์
รองรับการใช้งานร่วมกับเครื่องมือเฉพาะทาง (Cloud-Specific Tools)
Hybrid Cloud ยังสามารถรองรับการใช้งานร่วมกับเครื่องมือเฉพาะทางที่อยู่บนระบบคลาวด์ได้ เช่น SaaS (Software as a Service) เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล หรือการทำงานร่วมกับ Machine Learning ได้เป็นอย่างดี
ความแตกต่างระหว่าง Public Cloud, Private Cloud และ Hybrid Cloud
เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างของระบบคลาวด์แต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน มาดูรายละเอียดของ Public Cloud, Private Cloud และ Hybrid Cloud กันสักเล็กน้อย
Public Cloud คืออะไร? ต่างกับ Hybrid Cloud อย่างไร?
Public Cloud เป็นระบบคลาวด์สาธารณะที่เปิดให้ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยต้องเช่าหรือสมัครสมาชิกจากผู้ให้บริการ แต่สำหรับ Hybrid Cloud จะเป็นระบบที่รวมเอา Public Cloud และ Private Cloud เข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นและปลอดภัยมากขึ้นอย่างที่ได้อธิบายไปนั่นเอง
Private Cloud คืออะไร? ต่างกับ Hybrid Cloud อย่างไร?
Private Cloud เป็นระบบคลาวด์ส่วนตัวที่มีความปลอดภัยสูง และมักใช้ในองค์กรขนาดใหญ่เพื่อลดความเสี่ยงในการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลภายนอก โดยองค์กรสามารถเลือกเช่าเซิร์ฟเวอร์จากผู้ให้บริการหรือสร้างระบบคลาวด์ส่วนตัวขึ้นมาเองได้ ในขณะที่ Hybrid Cloud เป็นระบบที่รวมข้อดีของทั้ง Private Cloud และ Public Cloud เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น
การเลือกใช้ระบบ Hybrid Cloud ให้เหมาะสมกับองค์กร
เมื่อ Hybrid Cloud กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในองค์กร การเลือกใช้งานอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุนและสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล
- ประเมินขนาดและปริมาณข้อมูลที่ต้องจัดเก็บบน Private Cloud และ Public Cloud เพื่อเลือกความจุที่เหมาะสม ช่วยให้ควบคุมต้นทุนได้มากขึ้น
- ตรวจสอบมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ผู้ให้บริการ รวมถึงวิธีการเก็บรักษาข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลสำคัญจะได้รับการปกป้องแน่นอน
- พิจารณาคุณภาพการให้บริการและความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการ Hybrid Cloud โดยเฉพาะกรณีที่เกิดปัญหาระหว่างการใช้งาน หรือพบข้อผิดพลาดที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
- ตรวจสอบความสามารถในการขยายระบบ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือการย้ายข้อมูลระหว่างคลาวด์ ระบบควรสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ศึกษาข้อกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA – Personal Data Protection Act) ของประเทศไทย เพื่อให้การใช้งาน Hybrid Cloud เป็นไปตามมาตรฐานด้านกฎหมายและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ระบบ Hybrid Cloud คืออีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในฐานะส่วนหนึ่งของ Hybrid Cloud Computing ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ การทำความเข้าใจ Hybrid Cloud ข้อดีข้อเสีย รวมถึงแนวทางการเลือกใช้ที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด
หากคุณกำลังมองหาบริการ Cloud VPS ที่เชื่อถือได้ VPS HiSpeed เป็นผู้นำด้านคลาวด์และระบบเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี ในวงการ Network Engineering เรามั่นใจว่าเราสามารถให้บริการได้อย่างครบวงจรและมีมาตรฐานสูง บริการ Cloud VPS ของเราออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ตั้งแต่บุคคลทั่วไปไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ด้วยเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เทคโนโลยี NVMe SSD สามารถทำงานได้เร็วกว่า SSD ทั่วไปถึง 7 เท่า นอกจากนี้ เรายังมีทีมสนับสนุนทางเทคนิคที่พร้อมให้บริการคุณ 24 ชั่วโมงทุกวัน
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรวจแพ็กเกจต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ของ VPS HiSpeed ที่นี่ หรือติดต่อสอบถามเราโดยตรงได้เลย