TLD คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับโดเมนของเว็บไซต์

สำหรับคนที่อยู่ในวงการ IT หรือมีความสนใจในเรื่องเหล่านี้ หนึ่งในสิ่งที่ควรศึกษาและต้องรู้เลยนั่นคือ TLD หรือ Top-Level Domain หมายถึง ส่วนท้ายที่อยู่กับโดเมนบนอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ยังมีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ TLD อยู่พอสมควร จึงอยากนำมานำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้กับผู้ที่กำลังมองว่าตนเองอยากเติบโตในสายอาชีพเพื่อพัฒนาศักยภาพและความรู้ให้เพิ่มพูนมากขึ้นไปอีกขั้น 

TLD คือ

การแบ่งประเภทของ TLD

หากว่ากันตามหลักพื้นฐานจะมีการแบ่งประเภทของ TLD ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ เพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

gTLD หรือ generic TLD 

เป็นกลุ่มของ TLD ที่แยกออกตามหมวด อาจมีการใช้งานตามหน่วยงานทั่ว ๆ ไปเพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนว่าหน่วยงานดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเรื่องใดเป็นหลัก ทั้งนี้โดเมนระดับบนสุดประเภทดังกล่าวยังแยกย่อยออกได้เป็น 2 หมวด คือ

  • การใช้งานทั้งในแบบนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา เช่น .com, .org, .biz, .net, .info ฯลฯ
  • การใช้งานที่บ่งบอกลักษณะของเนื้อหาภายในเว็บไซต์แบบเจาะจงไปเลย เพื่อให้คนที่จะเข้ามารู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อหานั้น ๆ เช่น .edu, .int,. .mil, .gov เป็นต้น

ccTLD หรือ country code TLD

ด้วยชื่อก็บ่งบอกได้ชัดเจนแล้วว่านี่คือประเภทโดเมนระดับบนที่จะมีการแบ่งออกตามชื่อของประเทศ โดยปัจจุบันมีการแบ่งออกไปมากกว่า 250 โดเมน ซึ่งจะช่วยบอกให้รู้ถึงแหล่งที่มาของเว็บนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีว่าของประเทศอะไร ทั้งนี้ยังสามารถแบ่งแยกย่อยออกได้อีก 2 หมวด คือ

  • ccTLD สำหรับการจดทะเบียนและใช้งานได้ทุกประเทศ เช่น .cc, .tv, .to จุดเด่นของการจดแบบนี้คือ ไม่ต้องสนใจว่าคนที่จดทะเบียนจะอยู่ประเทศนั้น ๆ หรือไม่ อยู่ที่ไหนก็สามารถจดได้
  • ccTLD สำหรับการจดทะเบียนแบบเจาะจงประเทศ เช่น .th ประเทศไทย, .jp ญี่ปุ่น, .cn ประเทศจีน, .kr เกาหลีใต้, .uk อังกฤษ, .sg สิงคโปร์, .ca แคนาดา, .fr ฝรั่งเศส, .au ออสเตรเลีย เป็นต้น ทั้งนี้คนที่จะทำการจดทะเบียนตามชื่อเจาะจงประเทศได้ต้องอยู่อาศัยในประเทศนั้น ๆ ด้วย

อย่างไรก็ตามบางแห่งยังมีการแบ่ง TLD ออกเป็นอีกประเภทคือ การแบ่งตามโครงสร้างพื้นฐาน แต่ด้วยความไม่ชัดเจนและสังเกตได้ยาก จึงทำให้การแบ่งประเภทลักษณะนี้ไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนัก 

หลังเข้าใจถึงเนื้อหาของ TLD กันแล้ว สำหรับคนที่เป็นโปรแกรมเมอร์มือใหม่ก็จะช่วยเพิ่มเติมความรู้ให้เข้าถึงยิ่งกว่าเดิม ส่วนคนที่เป็นมืออาชีพ การมาย้ำเตือนข้อมูลบางส่วนที่อาจเลือนรางไปนับเป็นเรื่องดีที่จะทบทวนความรู้ของตนเองอีกครั้ง เผื่อมีบางส่วนที่หลงลืมเพราะไม่ได้ใช้งานนาน ๆ จะได้ไม่พบเจอกับปัญหาในการทำงานให้ต้องมานั่งปวดหัวภายหลัง

สำหรับหลายคนที่กำลังเริ่มทำเว็บไซต์ สนใจแพ็กเกจเช่าโฮสติ้งแบบมีความเป็นส่วนตัว อย่าลืมแวะไปดูแพ็กเกจเว็บโฮสติ้งจาก VPS Hispeed กันนะ แพ็คเกจของเรามีหลากหลาย รองรับลูกค้าหลายประเภท แม้จะเป็นมือใหม่ก็ใช้งานได้ไม่ยาก สนใจติดต่อที่อีเมล [email protected] หรือทางเบอร์โทรศัพท์ 093 173 0181, 096 238 7242, 082 018 9138

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review