Wireframe (วายเฟรม) คืออะไร? เรื่องที่คนทำเว็บควรรู้ + Free Tools

เมื่อพูดถึงการออกแบบ หลายคนจะนึกถึงแค่เรื่องความสวยงาม แต่กับการออกแบบ Wireframe (วายเฟรม) หรือ โครงร่างภาพรวมของเว็บไซต์ แค่ความสวยงามอย่างเดียวอาจไม่พอ แต่ Wireframe คืออะไร และมีเรื่องอะไรที่ควรรู้ เพื่อให้เว็บไซต์ถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพบ้าง อยากรู้ต้องอ่าน

black ipad beside white ceramic mug on white table

Wireframe (วายเฟรม) คืออะไร

Wireframe คือ การออกแบบโครงสร้างส่วนต่างๆ ภายในเว็บไซต์ โดยจะจัดเรียงหลากหลายองค์ประกอบ ตั้งแต่ ภาพ ข้อความ ปุ่ม call-to-action หรืออื่นๆ ให้สวยงามและตอบโจทย์การใช้งาน เพราะการออกแบบสร้างเว็บไซต์ให้ออกมาตรงใจไม่ได้ง่ายเหมือนการวาดภาพหรือโยนเข้าโฟโต้ช็อปไปตัดต่อแล้วก็เสร็จ แค่สร้างก็ต้องใช้เวลาเยอะแล้ว หากเกิดปัญหาต้องแก้ไขบางทีอาจจะต้องรื้อแทบทั้งหมดทำให้เสียแรง เสียเวลาหนักไปอีก วายเฟรมเลยเป็นเหมือนก้าวแรกเสมือนวางแปลนบ้านให้เห็นโครงร่างเว็บไซต์คร่าวๆ ลดข้อผิดพลาดและระยะเวลาในการทำงานไปได้พอสมควร

รูปแบบเว็บไซต์ที่ควรใช้ Wireframe Web Design

หากเว็บไซต์ที่คุณใช้เป็นเว็บไซต์สำเร็จรูปที่ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งหน้าตาเว็บไซต์แล้วหรือการออกแบบจัดวางเลย์เอาท์ไม่ได้มีอะไรมากนัก อาจไม่ได้จำเป็นต้องใช้ Wirefrme Design แต่ถ้าเว็บไซต์ของคุณมีความซับซ้อนหรือเป็นโปรเจกต์ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและวางแผนให้สามารถผู้ใช้งานเกิดความประทับใจขณะใช้งานเว็บไซต์มากที่สุด

วิธีการทำ Wireframe Design

สำหรับใครที่กำลังวางแผนว่า จะออกแบบวายเฟรมและสร้างเว็บไซต์ สามารถเริ่มต้นลงมือได้ 2-3 วิธี (เลือกได้ตามความถนัดของตัวเอง) ดังนี้

1) ออกแบบ website wireframe ลงบนกระดาษ โดยอาจสั่งพิมพ์แบบฟอร์มจาก sketchize.com เพื่อให้ออกแบบได้ง่ายและเป๊ะมากขึ้น

2) ใช้โปรแกรมเกี่ยวกับการออกแบบ ไม่ว่าจะ Adobe Photoshop, Adobe Firework, Visio หรือ OmniGraffle ฯลฯ

Justinmind

3) ทำโดยใช้เว็บไซต์ที่ให้บริการออกแบบ Wireframe Tools Free อย่าง Justinmind, Cacoo, Mockflow, JumpChart, Pencil Project ฯลฯ หรือ หากคุณเป็นสาย UX/UI โดยตรง อาจเลือกใช้เว็บไซต์ฟรี เช่น Muqups, Mockflow, ProtoPie, FluidUI, Balsamiq ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน

ความแตกต่างระหว่าง Wireframe กับ Prototype

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่า Wireframe กับ Prototype คือสิ่งเดียวกัน (แม้แต่นักออกแบบบางรายก็ยังเข้าใจไปตามนั้น) แต่ความจริงแล้ว ทั้งรูปแบบและการใช้งานของทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่เหมือนกันซะทีเดียว 

ขณะที่วายเฟรมจะเน้นในเรื่องของการนำเสนอข้อมูล เพื่อแสดงบนหน้าเว็บไซต์ ด้วยการออกแบบโครงสร้างและเลย์เอาต์ ให้ผู้ใช้งานได้รับประโยชน์และเกิดความประทับใจในขณะใช้งานบนเว็บไซต์สูงสุด

ส่วน โพรโตไทป์ จะเป็นเสมือนการสร้างตัวทดลอง ในระหว่างการออกแบบและพัฒนาสร้างเว็บไซต์จริง เพื่อให้ไอเดียหลังจากออกแบบวายเฟรมเรียบร้อยมาเป็นรูปธรรมสามารถลองสัมผัสหรือทดลองใช้เบื้องต้นก่อนสร้างจริงได้ เช่น ดูการเคลื่อนไหวจริง การเชื่อมโยงแต่ละเพจบนเว็บไซต์ ฯลฯ

ตัวอย่าง prototype หลังจากคุณออกแบบใน Sketch หรือ Photoshop จนได้โครงร่างหน้าเว็บไซต์มาคร่าวๆ แล้ว ก็นำไปใส่ใน InVision ต่อ เพื่อทดลองการเคลื่อนไหวและตอบโต้ รวมถึงประเมินก่อนปรับลดความซับซ้อนของแต่ละขั้นตอนให้ง่ายขึ้น สวยงามและตอบโจทย์ตรงใจมากขึ้น แต่ถ้าไม่มีอะไรแก้ไขก็จะนำไปเขียนโค้ดหรือดำเนินการสร้างเว็บไซต์ต่อไป

สรุป

บางท่านที่เคยมองข้ามการออกแบบ Wireframe Design เพราะคิดว่ายิ่งเพิ่มขั้นตอนยิ่งเสียเวลา อาจจะต้องลองกลับมาคิดดูว่า ถ้าเพิ่มขั้นตอนอีกนิด แต่ประสิทธิภาพในการใช้งาน สามารถสร้างความคุ้มค่าให้การลงทุนได้มากกว่า ก็ควรที่จะเริ่มขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ด้วยขั้นตอนการออกแบบ Wireframe และ Prototype ให้ดีหรือไม่ ถ้าคุ้มค่าก็อย่าลืมแบ่งสัดส่วนเวลาและแรงในการทำงานให้เหมาะสม เพียงเท่านี้ก็จะสร้างเว็บไซต์ที่สวยและตอบโจทย์ทุกการใช้งานได้ไม่ยาก!

เราขอฝาก VPS Hispeed WordPress Package ในฐานะผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งจากทีมวิศวกรมืออาชีพประสบการณ์สูง พร้อมให้บริการรวดเร็วทันใจ สามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้ตลอดเวลา Spec ตัว Server ของเรา เร็วและแรง เหนือกว่าทั่วไปหลายเท่า รองรับการแสดงผลในทุกแพลตฟอร์ม หากสนใจสามารถปรึกษา หรือสั่งซื้อเว็บโฮสติ้ง ได้ที่ LINE: @vpshispeed

small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review