ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เวลาที่เราเปรียบเทียบ SSD กับ HDD เราไม่ได้จะพยายามหาผู้ชนะ เพราะนี่ไม่ใช่การแข่งขัน ทั้ง SSD และ HDD ต่างกันมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันว่าข้อดีและข้อเสียเหล่านั้นของ SSD และ HDD คืออะไรบ้าง และจะมีวิธีการเลือกอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ที่สุด
SSD คืออะไร?
SSD ย่อมากจาก Solid State Drive เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ HDD ในการจัดเก็บข้อมูล แต่ SSD จะใช้หน่วยความจำในลักษณะของ Flash Memory Chips ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับ Flash Drive/Thumb Drive แต่เร็วกว่าและเสถียรกว่า
ข้อดี-ข้อเสียของ SSD
- ข้อดีของ SSD
SSD มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า HDD อ่าน เขียน และประมวลผลได้ไวกว่าหลายเท่าตัว และยังมีขนาดที่เล็กจึงประหยัดพื้นที่ไม่กินเนื้อที่ในเคส ที่สำคัญยังทนทานต่อการกระแทก และประหยัดพลังงานมากกว่า HDD
- ข้อเสียของ SSD
SSD จะมีราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ HDD และยังมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าด้วย
HDD คืออะไร?
HDD ย่อมาจาก Hard Disk Drive เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล มีลักษณะเป็นฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุนแม่เหล็กแบบที่หลายๆ คนคงจะคุ้นเคยอยู่บ้าง ซึ่งเป็นลักษณะของดิสก์ที่มีและใช้มา 60 กว่าปีแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956
ข้อดี-ข้อเสียของ HDD
- ข้อดีของ HDD
HDD จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเมื่อเทียบกับ SSD และอีกหนึ่งข้อดีที่เด่นมากๆ นั่นก็คือราคา ซึ่งถ้าหากเทียบกันระหว่าง SSD กับ HDD ในความจุที่เท่ากัน HDD จะราคาถูกกว่าพอสมควร
- ข้อเสียของ HDD
การทำงานของ HDD หัวใจสำคัญจะอยู่ที่จานหมุนจึงต้องระมัดระวังเวลาเคลื่อนย้าย เพราะถ้าหากจานหมุนโดนกระแทกจนเกิดความเสียหาย HDD จะพังทันที รวมถึงการทำงานของ HDD จะช้ากว่า SSD อย่างเห็นได้ชัด และไม่ค่อยเหมาะที่จะใช้งานเป็นไดรฟ์หลักในการบูทระบบ หรือเล่นเกม
HDD และ SSD แตกต่างกันอย่างไร?
ทีนี้ก็มาถึงคำถามที่ว่าความแตกต่างระหว่าง SSD กับ HDD คืออะไร? มีหลายปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างระหว่างไดรฟ์ทั้งสองชนิดนี้ ที่รู้กันทั่วไปคือ SSD มีราคาแพงกว่า ได้พื้นที่การจัดเก็บน้อยกว่า แต่ประสิทธิภาพของการส่งถ่ายข้อมูลอาจสูงกว่าถึงสิบเท่า ส่วน HDD ซึ่งทำงานได้ช้ากว่า ก็มีข้อดีทดแทนคือราคาย่อมเยากว่ามากๆ นั่นเอง ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือ เรามาดูกันทีละข้อ ดังนี้ครับ
SSD กับ HDD เหมาะกับการทำงานแบบไหน?
SSD เหมาะกับ: Solid State Drive กำลังกลายเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า HDD จึงเหมาะกับการใช้งานเป็นไดรฟ์หลัก การใช้งานที่เน้นการเข้าถึงไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว บูทเครื่องให้เร็วขึ้น และเร่งการทำงานของแอปพลิเคชัน
HDD เหมาะกับ: Hard Disk Drive อุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่มีจุดเด่นอยู่ตรงราคาและความคุ้มค่าในการใช้งาน HDD จึงเหมาะกับการใช้งานที่เน้นความคุ้มค่าในการจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลปริมาณมาก หรือการจัดเก็บข้อแบบ Backup สำรองข้อมูลต่างๆ นั่นจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนยกให้ HDD ดีที่สุดในมุมของราคาต่อ GB
1. SSD vs. HDD: ความเร็ว
ความเร็วที่เหนือกว่ามากๆ เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนหันไปเลือก SSD เพราะเมื่อวัดกันเฉพาะความเร็วแล้ว SSD ชนะขาดลอยแน่นอน ถึงแม้ว่า HDD จะมีการพัฒนาไปมากแล้ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องความเร็วของในการหมุนของดิสก์ ซึ่งหมายความว่า SSD ที่ไม่ได้ใช้การหมุนของดิสก์ในการทำงานจะไม่มีข้อจำกัดเรื่องนี้ และจะมีความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลที่เร็วกว่า HDD เสมอ
เมื่อเจาะลึกลงรายละเอียด ดูกันเป็นตัวเลขก็จะยิ่งเห็นชัดถึงความแตกต่างเรื่องความเร็วของ SSD ยกตัวอย่าง HDD ที่มีราคาแพงและอยู่ระดับบนๆ ของตลาด จะมีความเร็วในการหมุนสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7200 รอบต่อนาที และมีความเร็วส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 150-200MBps ซึ่งความเร็วทั้งหมดที่กล่าวมาอาจจะช้าลงไปกว่านี้ในการใช้งานจริง เปรียบเทียบกับ SSD ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลโดยเฉลี่ยมากถึง 500 MBps จากตัวเลขดังกล่าวทำให้เห็นชัดเจนว่า เมื่อเปรียบเทียบกันที่ความเร็ว SSD นำหน้า HDD อยู่ในขณะนี้
2. SSD vs. HDD: ความทนทาน/ความเสถียร
การออกแบบชิ้นส่วนของ SSD จะต่างจาก HDD ตรงที่ไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องหมุนหรือเคลื่อนไหว ข้อแตกต่างตรงนี้ทำให้ SSD เหนือกว่าในเรื่องของความเสถียร ความทนทาน และความเงียบขณะทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานบน device ที่มีการเคลื่อนที่อยู่เสมออย่างแล็บท็อป โอกาสที่ตัวเครื่องจะตกพังเสียหาย จนเป็นเหตุให้ข้อมูลหายก็อาจจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ากับ HDD
การทำงานของ SSD จะเป็นการอ่าน/เขียนข้อมูลในเซลส์หน่วยความจำขึ้นเป็นบล็อคๆ ในลักษณะที่ทำให้สามารถลดโอกาสการเกิดข้อผิดพลาดขณะที่เขียน ในขณะที่ HDD จำเป็นต้องเขียนหน่วยความจำในลักษณะที่ยาวและเรียงตามลำดับเวลา ทำให้เมื่อมีข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ การเข้าถึงไฟล์ก็จะช้าลงเรื่อยๆ และเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายกว่า ตัว SSD จะไม่มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลของ SSD เป็นไปใน patterns ที่ทำให้สามารถเข้าถึงไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งความทนทานของตัวชิปและความเสถียรจึงค่อนข้างเหนือกว่า
3. SSD vs. HDD: อายุการใช้งาน
หากพูดถึงเรื่องอายุการใช้งาน HDD นั้นถือว่าเหนือกว่า SSD อยู่หลายขุม นั่นก็เพราะว่าตัว SSD จะทำงานด้วยการเขียนแล้วลบข้อมูลอยู่ซ้ำๆ ซึ่งการเขียนแล้วลบๆ บนเซลส์เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะมีวันที่ตัวไดรฟ์จะเสื่อมสภาพไปตามความหนักเบาของการใช้งาน หากนึกภาพไม่ออกก็ให้ลองนึกถึงแบตเตอรี่มือถือของเราที่เสื่อมสภาพเพราะวงจรการชาร์จเยอะขึ้น ฉะนั้นพอถึงจุดจุดหนึ่ง ตัว SSD เองก็เสื่อมสภาพลงจนหมดอายุขัยนั่นเอง ถึงแม้ว่าเราจะดูแลจัดการไดรฟ์อย่างดีหรือต่อให้มี SSD เทคโนโลยีต่างๆ ออกมา อายุเฉลี่ยของ SSD ก็จะอยู่ที่ประมาณ 5-6 ปีโดยประมาณเท่านั้น
ในขณะที่ HDD ซึ่งทำงานด้วยการหมุนของดิสก์ ตราบใดที่ลักษณะทางกายภาพของฮาร์ดแวร์ยังคงสภาพอยู่ได้ ยังหมุนอยู่ได้ ก็เท่ากับว่าตัวดิสก์ยังทำงานได้เรื่อยๆ ต่อไป ซึ่งถ้าดิสก์ยังสามารถทำงานและหมุนได้เรื่อย ก็อาจจะมีอายุการใช้งานถึง 10-15 ปี โดยไม่มีปัญหาใดๆ และเสื่อมสภาพช้ามาก (เมื่อเทียบกับ SSD) โดยรวมแล้วจึงถือว่า HDD มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า SSD
4. SSD vs. HDD: การสิ้นเปลืองพลังงาน
SSD ที่สามารถอ่าน/เขียนข้อมูลเร็วกว่าจะใช้พลังงานน้อยกว่า HDD ที่ต้องมีการหมุนดิสก์อย่างต่อเนื่องที่ประมาณ 7,200 รอบต่อนาที ซึ่ง SSD ไม่ได้ต้องการพลังงานต่อเนื่องขนาดนั้น การใช้พลังงานของ SSD จะเป็นในรูปแบบของการ burst ครั้งเดียวสั้นๆ หลังจากนั้นก็จะหยุดเมื่อไม่ต้องการใช้ ทำให้ในแง่ของการสิ้นเปลืองพลังงาน SSD อาจสิ้นเปลืองน้อยกว่าเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเป็นแค่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่บ้านเล่นเกม ดูหนัง ใช้อินเทอร์เน็ตธรรมดาๆ เรื่องว่าแบบไหนเปลืองพลังงานมากหรือน้อยกว่ากันนี่แทบจะไม่มีผลใดๆ เพราะว่าทั้งสองแบบต่างกันเพียงเล็กน้อยจริงๆ คุณจะเริ่มเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อคุณเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ HDD จำนวนหลายพันเครื่อง แบบนั้นจึงจะเริ่มเห็นความแตกต่างของต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า และจะพบว่าการใช้ SSD จะประหยัดมากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ
5. SSD vs. HDD: การเล่นเกม
ดูข้อดีข้อเสียระหว่าง SSD และ HDD กันไปแล้ว มาเอาใจสายเกมเมอร์บ้าง ว่าระหว่าง SSD และ HDD ควรเลือกแบบไหน อะไรดีกว่ากัน
- SSD จะสามารถโหลดเกมได้ไวกว่า ส่งข้อมูลได้เร็วกว่า HDD ทำงานได้รวดเร็วกว่า ถึง 35 – 100 เท่า
- SSD จะมีประสิทธิภาพในการอ่าน เขียน ประมวลผล ได้ดีกว่า HDD
- SSD รุ่นใหม่ๆ มักจะใช้ตัวประสาน PCIe ที่เร็วกว่าไดรฟ์ SATA III
ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้ดูต่างกันมากนัก แต่ SSD จะทำให้การเล่นเกมโดยรวมดีขึ้น โหลดเร็วขึ้น ซึ่งสำหรับเกมเมอร์ที่อยากจะเล่นเกมแบบรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ไม่อยากรอนาน SSD ก็เป็นตัวเลือกที่แม้ราคาสูงไปสักนิด แต่ก็คุ้มค่าเพราะมันจะทำให้คุณไม่ต้องรอโหลดอะไรนานๆ
เพราะสิ่งที่เกมเมอร์ส่วนใหญ่คาดหวัง คือความรวดเร็ว และเสถียรภาพในการทำงาน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ควรเลือกใช้งาน SSD มากกว่า HDD
เลือกโฮสติ้ง SSD แบบไหนดี?
- Shared SSD Web Hosting
ปกติ shared โฮสติ้ง จะช้ากว่าเว็บโฮสในรูปแบบอื่นอยู่แล้ว แต่เมื่อใช้ควบกับ SSD ก็จะมีความรวดเร็วขึ้นอีก ที่สำคัญคือราคาไม่สูงนัก จึงเหมาะกับการใช้กับธุรกิจเล็กๆ และเหมาะกับเว็บไซต์ขนาดเล็ก แต่อาจมีจำนวนคนเข้าชมเยอะ
- SSD VPS Hosting
ใครที่กำลังใช้ VPS โฮสติ้งอยู่ นั่นก็แสดงว่าพอจะเล็งเห็นแล้ว shared โฮสติ้งนั้นไม่เหมาะหรือ “ไม่เพียงพอ” กับการใช้งานอีกต่อไป ซึ่งหมายความว่าเว็บไซต์ของลูกค้าอาจจะมีขนาดกลาง-ใหญ่ ข้อมูลเยอะ นอกจากความรวดเร็ว ลูกค้าอาจจะต้องการความเสถียร มั่นใจว่าเว็บไซต์จะไม่ down บ่อยๆ จนทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจไป SSD VPS โฮสติ้งก็จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับคุณ
คลิกเพื่อดู Hosting Plan จากเรา
สรุปควรเลือกอะไรระหว่าง SSD Vs HDD
เมื่อถามว่าควรเลือกอะไรดีระหว่าง SSD กับ HDD ยังคงเหมือนเดิม คำตอบก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้ากำลังมองหาคุณสมบัติแบบไหน หากกำลังมองหาการอ่านเขียนข้อมูลที่รวดเร็ว ก็ต้องเลือก SSD แต่ถ้าหากเน้นที่ราคาย่อมเยา สเปกพอดีๆ HDD ก็เป็นตัวเลือกที่ดีพอสำหรับการใช้งานนี่ไม่หนักมาก
ปรับแต่ง VPS ของคุณที่นี่
399 THB
var urlLang = window.location.pathname.split("/"); if(urlLang[1] =="en"){ document.getElementById("vps_form_title").innerHTML ="Customize your VPS"; document.getElementById("vps_form_location").innerHTML ="Location"; document.getElementById("vps_form_slider_price_1").innerHTML ="Slide for best price"; document.getElementById("vps_form_slider_price_2").innerHTML ="Slide for best price"; document.getElementById("vps_form_slider_price_3").innerHTML ="Slide for best price"; document.getElementById("vps_form_os").innerHTML ="OS"; document.getElementById("vps_form_price").innerHTML ='Price :
'; document.getElementById("btnSubmit").innerHTML ="Order VPS Now"; } else { document.getElementById("vps_form_title").innerHTML ="ปรับแต่ง VPS ของคุณที่นี่"; document.getElementById("vps_form_location").innerHTML ="พิกัด"; document.getElementById("vps_form_slider_price_1").innerHTML ="เลื่อนสไลด์สำหรับราคาที่ต้องการ"; document.getElementById("vps_form_slider_price_2").innerHTML ="เลื่อนสไลด์สำหรับราคาที่ต้องการ"; document.getElementById("vps_form_slider_price_3").innerHTML ="เลื่อนสไลด์สำหรับราคาที่ต้องการ"; document.getElementById("vps_form_os").innerHTML ="ระบบปฎิบัติการ"; document.getElementById("vps_form_price").innerHTML ='ราคา :
'; document.getElementById("btnSubmit").innerHTML ="สั่งซื้อ VPS ตอนนี้"; }