เข้าใจขอบเขตของการจ้างทำเว็บ คนพัฒนาเว็บมีหน้าที่อะไรบ้าง

หากพูดถึงตัวช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของธุรกิจต่าง ๆ การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองก็คือสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตามการทำเว็บไซต์จำเป็นต้องใช้ความรู้เฉพาะทางขั้นสูง ดังนั้นการจ้างทำเว็บจึงเป็นทางออกสำหรับหลาย ๆ คนที่ วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตของการจ้างทำเว็บรวมถึงข้อมูลน่ารู้อื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันเลย

ขอบเขตของการจ้างทำเว็บไซต์

ปัญหาอันดับหนึ่งที่ทำให้การจ้างทำเว็บไซต์กลายเป็นเรื่องยุ่งยากและมีปัญหาตามมาก็คือการที่ผู้จ้างและคนพัฒนาเว็บไซต์ไม่รู้ว่าขอบเขตการจ้างทำเว็บไซต์คือตรงไหน ดังนั้นการปูพื้นฐานให้ทุกฝ่ายเข้าใจขอบเขตตรงนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจเป็นอันดับแรก โดยปกติแล้วขอบเขตที่คนพัฒนาเว็บไซต์ต้องดูแลมีดังนี้

  1. เลือกและใช้เครื่องมือในการทำเว็บอย่างเหมาะสม
  2. ดูแล วางแผนและเข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับมอบหมาย
  3. รู้จักการออกแบบ UX และ UI อย่างแจ่มแจ้ง
  4. รู้วิธีการตั้งค่าเว็บไซต์พื้นฐานเป็นอย่างดี
  5. พร้อมทำคู่มือการใช้งานและการดูแลเว็บไซต์อย่างละเอียด

สำหรับส่วนการจัดเตรียมข้อมูล รูปภาพหรือการทำการตลาดผ่านการทำ SEO ทั้งหมดนี้จะอยู่นอกเหนือขอบเขตในการทำงานของคนพัฒนาเว็บไซต์ทั้งสิ้น

4 หน้าที่ที่คนพัฒนาเว็บต้องรู้

เมื่อทำความเข้าใจขอบเขตการจ้างทำเว็บไซต์แล้ว เราก็มาเจาะลึกกันในส่วนของหน้าที่ที่คนพัฒนาเว็บต้องรู้กันบ้าง ข้อมูลในส่วนนี้สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นส่วนที่จะช่วยให้ผู้จ้างรู้ว่าหลักเกณฑ์ไหนบ้างที่ควรนำมาใช้ในการตรวจสอบงานแต่ละครั้ง ซึ่งเรารวบรวม 4 หน้าที่สำคัญของคนพัฒนาเว็บมาไว้ ดังนี้

1. รู้สโคปของเว็บไซต์ที่ทำการสร้าง

การรู้สโคปของเว็บไซต์ที่จะทำการสร้างคือหน้าที่อย่างแรกของคนพัฒนาเว็บไซต์ การสื่อสารกับผู้จ้างอย่างละเอียดเกี่ยวกับความต้องการและจุดประสงค์ของการสร้างเว็บไซต์จะช่วยทำให้ประเมินได้ว่าต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณทั้งหมดเท่าไหร่ นอกจากนี้การรู้ข้อมูลของธุรกิจนั้น ๆ อย่างละเอียดยังช่วยทำให้คนพัฒนาสามารถเลือกฟังก์ชันของเว็บไซต์รวมถึงมีการออกแบบ UX และ UI ได้แบบมืออาชีพอีกด้วย

อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างทำเว็บไซต์ คนพัฒนาจำเป็นที่จะต้องทำการตกลงเรื่องการลงข้อมูลและอัปเดตสินค้าชนิดต่าง ๆ อย่างละเอียด คำนึงไว้เสมอเลยว่าทุกหน้าเว็บไซต์ที่ถูกสร้างล้วนมีค่าใช้จ่าย หากเข้าใจภาพรวมทั้งหมดและสามารถไฟนอลส่วนนี้ได้ตั้งแต่แรกแต่แรกก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะสร้างเว็บไซต์ให้สมบูรณ์

2. วางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)

เว็บไซต์ที่ดีจะต้องมีรากฐานที่แข็งแรง การวางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) จึงสำคัญไม่แพ้สิ่งใด ข้อมูลทั้งหมดที่คนพัฒนาเว็บไซต์ได้รับมา จะถูกนำมาวางโครงสร้างก่อนเริ่มลงมือเขียนโค้ดสร้างเว็บจริง ๆ เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำเว็บไซต์เพราะช่วยให้มองเห็นภาพเว็บไซต์ได้แบบง่าย ๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้จ้างสามารถนำไปต่อยอดด้านการตลาด เช่น การทำ SEO ได้แบบเห็นผลมากขึ้นอีกด้วย

3. เลือกเครื่องมือและตรวจสอบให้เว็บไซต์ใช้งานได้ตลอดเวลา

ปัจจุบันมีหลากหลายเครื่องมือด้วยกันในการทำเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น Adobe Dreamweaver, WordPress, Wix หรือ MAGENTO เป็นต้น นอกจากเครื่องมือในการเขียนโค้ดแล้ว ในส่วนของการเลือกเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือเว็บโฮสติ้งก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะคนพัฒนาเว็บไซต์มีหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดและการตั้งค่าพื้นฐานต่าง ๆ ในส่วนนี้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถออนไลน์ได้แบบไม่มีปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง

บทความที่เกี่ยวข้อง: อยากทําเว็บไซต์ฟรี ทำของที่ไหนดี? มาดู 14 เว็บสำเร็จรูปยอดฮิต

4. ตรวจเช็ก จัดเตรียมคู่มือการใช้งาน

หลายครั้งการว่าจ้างให้ทำเว็บไซต์ก็จบลงทันทีที่ส่งมอบเว็บไซต์เสร็จ ดังนั้นเมื่อพัฒนาเว็บไซต์เสร็จแล้ว คนพัฒนาจึงต้องตรวจเช็กความเรียบร้อยพร้อมจัดเตรียมคู่มือการใช้งานอย่างละเอียดให้ผู้ว่าจ้างก็เป็นหน้าที่ที่ควรทำก่อนส่งมอบงาน เพื่อที่ผู้จ้างจะสามารถใช้งานและดูแลเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเองต่อไปนั่นเอง

เว็บเซิร์ฟเวอร์ต่างกับเว็บโฮสติ้งอย่างไร?

การแสดงผลโค้ดต่าง ๆ ที่คนพัฒนาเว็บไซต์ทำขึ้นมาออกไปเป็นเว็บไซต์สำหรับให้คนภายนอกได้รับชมตลอด 24 ชั่วโมงจำเป็นที่จะต้องใช้เซิร์ฟเวอร์มาเป็นตัวกลางในการจัดฐานข้อมูลทั้งหมดพร้อมตั้งค่าเว็บไซต์เสียก่อน หากแต่การจัดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นมีค่าใช้จ่ายสูงทั้งด้านอุปกรณ์และทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นตัวกลางอย่างเว็บโฮสติ้งซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าจึงกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คนปัจจุบันนิยมนำมาใช้งานกันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ขั้นตอนการเลือกโฮสติ้งในการทำเว็บ

ขั้นตอนการเลือกโฮสติ้งสำหรับการทำเว็บมีทั้งหมด 3 ข้อคือ

  • ดูเซิร์ฟเวอร์ : ตรวจสอบสเปคของเซิร์ฟเวอร์เกี่ยวกับความเสียรและการประมวลผล เพื่อนำไปประเมินถึงความรวดเร็วที่จะได้รับในการใช้งาน
  • ยืนยันโลเคชั่น : คำนึงถึงการดูแลความปลอดภัยของที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์พร้อมทั้งตรวจสอบว่าโลเคชั่นนั้น ๆ สามารถเชื่อมต่อโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลา
  • ตรวจสอบการบริการ : แม้จะมีระบบดีแค่ไหน แต่เหตุฉุกเฉินอย่างเว็บล่มก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นการตรวจสอบขอบเขตของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งว่ามีทีมซัพพอร์ตที่เชี่ยวชาญและพร้อมแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วเลยสำคัญเช่นกัน

ครบแล้วกับขอบเขตของการจ้างทำเว็บและข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นผู้จ้างหรือคนพัฒนาเว็บไซต์ก็ตาม ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นข้อมูลดี ๆ ทั้งสิ้น รับรองได้เลยว่าถ้าทุกฝ่ายมีความเข้าใจที่ตรงกันการทำเว็บไซต์ก็จะราบรื่นไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน

ท้ายสุด สำหรับใครที่กำลังเริ่มทำโปรเจ็คต่างๆ หรือเว็บไซต์ หรือกำลังอยากย้ายโฮสติ้งพอดี อย่าลืมแวะไปดูแพ็กเกจเว็บโฮสติ้งจาก VPS Hispeed กันนะ แพ็คเกจของเรามีหลากหลาย รองรับลูกค้าหลายประเภท แม้จะเป็นมือใหม่ก็ใช้งานได้ไม่ยาก สนใจติดต่อที่อีเมล [email protected] หรือทางเบอร์โทรศัพท์ 093 173 0181, 096 238 7242, 082 018 9138

small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review