Server คืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? ใครควรมี Server เป็นของตัวเอง?

หน้าที่ของ Server คืออะไรกัน? ทำไมทุกๆ องค์กรถึงต้องมีฮีโร่ตัวนี้!

Server คืออะไร Cover

วิวัฒนาการของวงการเทคโนโลยีหมุนเร็วยิ่งกว่าลูกข่างซะอีกนะจะว่าไป ยิ่งหากใครเป็นเจ้าของธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เรายิ่งต้องวิ่งตามมันให้ทันกว่าใครเพื่อน โดยเฉพาะคนที่ทำงานในแวดวงนักธุรกิจยิ่งต้องศึกษาว่าหน้าที่ของ Server มันคืออะไร ทำไมหลายๆ องค์กรใหญ่ถึงเลือกใช้มัน ซึ่งเจ้าของธุรกิจก็ต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่า แหล่งเก็บข้อมูลของบริษัทและระบบปฎิบัติการต่างๆ ที่เราต้องใช้ทำงานในองค์กรของเรานั้น ถือเป็นหัวใจหลักที่ช่วยให้การทำงานไหลลื่นขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่หัวใจการทำงานของเราขัดข้อง ความหายนะจะตามมาในทันที

ดังนั้น วันนี้เราจึงอยากขอเปิดตัวฮีโร่ที่ทุกบริษัทต้องมี นั่นก็คือ Server ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกธุรกิจควรให้ความสำคัญเลยทีเดียว เพราะมันจะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจเราได้อย่างมากมายมหาศาล งั้นเราไปดูกันเลยว่าอะไรคือ Server มันดีขนาดไหนถึงควรลงทุนติดตั้ง และจะเลือก Server ยังไงให้เหมาะกับธุรกิจของตัวเอง เราจะเฉลยให้แบบหมดเปลือกเลยล่ะ!

ไขข้อข้องใจ Server คืออะไร?

เปิดประเด็นกันที่คำถามสุดพื้นฐานที่ใครๆ ก็อยากรู้ว่า Server แท้จริงแล้วมันคืออะไร พูดง่ายๆ มันก็เป็นได้ทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่เป็นตัวการหลักในการส่งข้อมูลให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายอีกที

ซึ่งหากจะเปรียบเทียบ Server กับระบบในร่างกายของเรานั้น มันก็คงจะเป็นหัวใจที่ช่วยหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายให้ดำรงต่อไปได้ ซึ่ง Server ก็มีหน้าที่เพื่อทำงานหนักล้วนๆ แถมมีความสามารถสูงกว่าการทำงานของคอมพิวเตอร์ซะอีก ที่สำคัญเซิร์ฟเวอร์ยังมีความปลอดภัยมากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งในการนำมาเป็นกำลังสำคัญในการส่งต่อข้อมูลให้กับลูกข่าย และเป็นตัวเก็บข้อมูลทุกอย่างของบริษัทนั่นเอง

และนี่ก็คือหน้าที่ของ Server!

เมื่อพูดถึงคำว่า Server เราจึงไม่สามารถระบุชี้ชัดได้อย่างตายตัวว่ามันคือคอมพิวเตอร์ได้อย่างเดียว หากแต่มันยังหมายรวมถึงระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อีกเช่นกัน ซึ่งโดยหลักๆ แล้วในปัจจุบัน เราใช้ Server เป็นได้ถึง 3 หน้าที่เลยล่ะ

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการบางอย่างกับคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมฯ ที่เป็นลูกข่าย

– เป็นระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการบางอย่างกับคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมฯ ที่เป็นลูกข่าย

– เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมฯ ที่เป็นลูกข่าย

Server คืออะไร-min

Server ต่างจาก คอมพิวเตอร์ทั่วไปอย่างไร?

Server และคอมพิวเตอร์ทั่วไป มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันอยู่หลายประการ ความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ตัวเครื่อง Server จะมีความแข็งแรง ทนทาน มากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป เนื่องจากเครื่อง Server มีการออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานในระยะเวลานาน ระบายความร้อนได้ดี สามารถเปิดใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อเนื่องกันหลายๆ วัน

ส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาในรูป Rack Mounted ซึ่งระบบ Rack จะมีขนาดที่ตายตัว ต่างกันตรงความสูงเท่านั้น

Server มีกี่ประเภท

หากแบ่งประเภทของ Server ตามลักษณะการใช้งาน จะแบ่งออกได้ทั้งหมด 4 ประเภท

1. File Server

เป็น Server ที่ทำหน้าที่จัดเก็บไฟล์ต่างๆ และเปิดให้บริการดึงข้อมูลนั้นๆ มาใช้ ช่วยให้ไฟล์ที่มีการเรียกใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก

2. Print Server

เป็น Server ที่เชื่อมต่อเครื่องพิมพ์กับคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์ผ่านเครือข่าย ซึ่ง Server ประเภทนี้จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นได้เป็นอย่างดี

3. Database Server

เป็น Server ฐานข้อมูล คอยให้บริการฐานข้อมูลกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ โดยการรันระบบที่เป็นฐานข้อมูล DBMS หรือ Database Management System ซึ่งเป็นโปรแกรมฐานข้อมูล

4. Application Server

เป็น Server ที่ทำหน้าที่ในการรันโปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้การทำงานสอดคล้องกับผู้ใช้งาน หรือเป็นซอฟต์แวร์ที่คอยส่งมอบแอปพลิเคชันผ่าน Protocol การสื่อสาร

ส่วนประกอบของ Server

ส่วนประกอบของ Server จะแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่

1. Processor (โปรเซสเซอร์)

Processor เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ทำหน้าที่ประมวลผล บริหารจัดการข้อมูลต่างๆ ในระบบ Server มีทั้งที่มี Processor หลายตัว และ Processor ตัวเดียว แต่ประกอบด้วยหลายคอร์เพื่อรองรับการประมวลผลพร้อมๆ กัน

2. Memory (หน่วยความจำ)

Memory หรือแรมของ Server เป็นหน่วยความจำ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นส่วนที่จะดึงศักยภาพของระบบ System มาใช้งาน ยิ่งใช้ Memory ที่รองรับความจุได้มาก ก็จะยิ่งรองรับ Workload ขององค์กรได้ดียิ่งขึ้น

3. Storage (หน่วยเก็บข้อมูล)

Storage เป็นหน่วยเก็บข้อมูล ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งความจุของหน่วยเก็บข้อมูล ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล

4. Connectivity (การเชื่อมต่อ)

การเชื่อมต่อระบบ Network ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญของ Server และควรมีการกำหนดความต้องการในการเชื่อมต่อให้เรียบร้อย เช่น Storage-area Network หรือ จำนวน Ehernet Port เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดสเปคของตัวเครื่อง

5. ส่วนประกอบอื่นๆ

ส่วนสุดท้าย จะเป็นส่วนประกอบอื่นๆ ที่ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญต่อตัวเครื่อง เช่น Power Supply, Hard Drive และความจุในการรองรับ Hot Swap เป็นต้น 

ข้อดีของระบบ Server

1. มีความปลอดภัยสูง

โดยทั่วไป Server จะให้บริการภายใต้ Data Center เท่ากับว่าได้รับการดูแลและบริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ เมื่อเจอปัญหาจึงสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

2. มีประสิทธิภาพสูง

สามารถรองรับการใช้งานของ Software และ Application พร้อมกันได้ในปริมาณมาก โดยการประมวลผลไม่ผิดเพี้ยน

3. มีความน่าเชื่อถือสูง

เพราะถูกดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ และถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการประมวลผลปริมาณสูง และยังมาพร้อม Hardware ที่มีประสิทธิภาพ โอกาสที่จะเกิดปัญหาการสูญเสียข้อมูลจึงมีน้อย

4. ช่วยให้สามารถจัดการระบบได้ง่ายขึ้น

โดยปกติ Server จะสามารถรองรับการติดตั้ง Software ได้หลากหลายชนิด ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการหรือตั้งค่า User Interface ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

5. ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน

Server สามารถรองรับการเข้าใช้งานได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และยังสามารถปรับปรุง แก้ไข และแชร์ข้อมูล พร้อมๆ กันได้

ระบบปฎิบัติการที่นำมาใช้บน Server มีอะไรบ้าง?

อย่างที่เราได้รู้กันไปแล้วว่า Server สามารถใช้เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ซึ่งถ้าหากเราจะใช้เป็นโปรแกรมคอมฯ นั้น มันจะต้องอาศัยการทำงานบนระบบปฎิบัติการ ซึ่งในปัจจุบันก็มีมากถึง 5 ระบบเลยทีเดียวขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละองค์กร ว่าอยากจะใช้ Server รูปแบบใด

– Dedicated Server เป็นผู้ให้บริการเช่าเซิร์ฟเวอร์ ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจไม่ต้องลงทุนซื้อเซิร์ฟเวอร์เอง ซึ่งรูปแบบนี้จะเหมาะกับองค์กรที่มีข้อมูลเยอะมหาศาลและต้องการเก็บเป็นความลับ

– Cloud Server เป็นผู้ให้บริการอีกรูปแบบหนึ่งที่ลูกค้าสามารถเช่าเพื่อนำไปใช้บริการได้ตามความต้องการเสมือนเป็น Server เครื่องหนึ่ง

Linux Server ใช้สำหรับ Linux Distribution

– Windows Server ใช้สำหรับ Windows ที่ต้องใช้ Server เป็นหลัก

– Unix Server ใช้สำหรับ Unix ถือเป็นระบบปฎิบัติการที่ค่อนข้างเก่า แต่ในปัจจุบันก็ยังพอมีคนใช้งานอยู่เหมือนกัน

ซึ่งหลังจากที่เราเลือกได้แล้วว่าจะใช้ระบบปฎิบัติการอะไรมาใช้กับงานในองค์กรของเรา จากนั้นเราก็ต้องทำการเลือกโปรแกรมเพื่อไว้ตอบสนองการทำงานของ Server ให้ลื่นไหลขึ้นอีกด้วยเช่นกัน ซึ่งตามหลักแล้ว เครื่อง Server 1 เครื่อง เราจะเลือกระบบปฎิบัติการได้เพียงแค่หนึ่ง ส่วนโปรแกรมนั้นเราจะเลือกได้กี่แบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเรา โดยโปรแกรมที่นำมาใช้ในเซิร์ฟเวอร์นั้นก็มี

– Web Server เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านเว็บไซต์ เช่น Apache Web Server

– Mail Server เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการทางด้าน E-mail

– DNS Server เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการโดเมนเนม

– Database Server เป็นโปรแกรมที่ให้บริการทางด้าน Database

– File Server ใช้สำหรับจัดเก็บไฟล์ เหมือนเป็นฮาร์ดดิสก์หลักในการเก็บข้อมูลของบริษัท

– Print Server สำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ช่วยให้สั่งปริ้นท์ออกมาได้เยอะขึ้น และช่วยจัดการแบ่งการปริ้นท์ให้ทั่วถึงต่อทุกคนในองค์กรได้ด้วย เพราะมันช่วยจัดเรียงคิวได้ ว่าใครสั่งพิมพ์ก่อน ดังนั้น องค์กรขนาดใหญ่จึงจำเป็นต้องใช้

– Application Server เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มักทำงานร่วมกับ Mail Server หรือ Web Server เพื่อให้งานลื่นไหลมากขึ้น

แล้วองค์กรแบบไหน ที่ควรมี Server เป็นของตัวเอง?

ขอตอบตรงนี้เลยว่า ทุกองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องอยู่ในองค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาเครื่อง Server มาอำนวยความสะดวก เพราะมันช่วยให้ระบบจัดการในด้านการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งยังช่วยในการจัดเก็บข้อมูลขององค์กรไม่ให้รั่วไหลไปไหนอีกด้วย

Server คืออะไร ทำไมต้องมี-min

เลือก Server ยังไงให้เหมาะกับธุรกิจของตัวเอง

1. อุปกรณ์เก็บเครื่องมือผ่านเครือข่าย

ถือเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาไม่แพงและมีความเรียบง่าย เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการเซิร์ฟเวอร์ระดับปานกลาง และใช้ระบบปฎิบัติการแบบ Linux เพื่อติดตั้งและช่วยให้การทำงานลื่นไหลมากขึ้น

2. Server แบบ Tower

มีราคาสูงกว่าแบบแรก ซึ่งสามารถนำมาทำงานบนชั้นวางหรือบนโต๊ะได้เลย ซึ่งข้อเสียของมันก็คือจะต้องลงทุนซื้อคีย์บอร์ด จอภาพ และเมาส์เพิ่มด้วย เพราะต้องไว้ควบคุมการทำงานนั่นเอง ซึ่งสำหรับใครที่มองว่าดูวุ่นวายและมีข้อจำกัดเยอะเกินไป ลองไปดูแบบอื่นแทนกันก่อน

3. Server แบบ Rack

เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงเหมาะกับการเคลื่อนย้ายได้แบบง่ายดายมากกว่าแบบอื่นๆ ซึ่งถึงแม้ว่ามันจะมีราคาสูงกว่าแบบ Tower แต่ก็ยังเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาต่ำกว่าแบบ Blade นับว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่คุ้มค่าแก่การลงทุนเพราะมันช่วยแบ็คอัพข้อมูลสำคัญๆ ขององค์กร และมีความปลอดภัยสูงมาก เมื่อไหร่ที่คอมแฮงค์ จึงไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลจะหายแน่นอน

4. Server แบบ Blade

มีความเป็นระเบียบและมีความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่ารุ่นอื่นๆ และสามารถเพิ่มเซิร์ฟเวอร์ได้ง่ายๆ ในตู้เดียวกัน อีกทั้งยังติดตั้งชิ้นส่วนอื่นๆ ภายในตู้เพิ่มได้ จึงเหมาะกับองค์กรที่มีขนาดใหญ่มากๆ และมีข้อมูลภายในองค์กรเยอะมากเป็นพิเศษ

Server มีประโยชน์ขนาดไหน ทำไมถึงคุ้มค่าต่อการติดตั้ง?

เมื่ออ่านกันมาจนถึงตรงนี้แล้ว เพื่อนๆ ก็พอจะจับแนวทางได้แล้วว่า เซิร์ฟเวอร์ช่วยให้การทำงานรวดเร็วและลื่นไหลมากขึ้น เพราะคงไม่มีใครนั่งทำงานอยู่แล้วอยากขอไฟล์งานจากเพื่อน ก็ต้องเดินไปดูดงานจากเครื่องเพื่อนให้ลำบากยุ่งยาก ซึ่งถ้าหากว่าเรามีเซิร์ฟเวอร์ ทุกอย่างก็ง่ายดายหมด อาจจะส่งผ่าน Web Server หรือ Mail Server เอาก็ได้ หรือหากจะปริ้นท์งาน เพียงลง Print Server ก็ทำให้ระบบการทำงานลื่นไหลได้มากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลามาสลับสายเสียบไปเสียบมาให้วุ่นวาย เพราะตัวเซิร์ฟเวอร์จะเป็นศูนย์กลางทุกจักรวาลในองค์กรที่ทำให้ประหยัดเวลาและมีระบบระเบียบมากขึ้นนั่นเอง  

อีกทั้งเซิร์ฟเวอร์ยังช่วยแบ็คอัพข้อมูลสำคัญๆ ในองค์กร ทำให้รู้สึกมั่นใจและปลอดภัยว่างานจะไม่หายแน่นอนแม้ยามเกิดไฟดับหรือคอมแฮงค์กระทันหัน เพื่อนๆ จึงรู้สึกอุ่นใจได้เลยถ้าในออฟฟิศของเรามีตัวเซิร์ฟเวอร์คอยคุ้มกันอยู่

และนี่ก็เป็นคำตอบของทุกวงการธุรกิจที่จะช่วยให้การทำงานในแต่ละบริษัทก้าวไกลไปได้อย่างไม่มีวันสะดุด ซึ่งเมื่อเทียบกับความปลอดภัยของตัวบริษัทเราแล้วนั้น Server ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ควรค่าแก่การลงทุนเป็นอย่างยิ่ง มากกว่าจะนั่งคิดแค่ว่าเสียดายเงิน เพราะเมื่อไหร่ที่ระบบข้อมูลในบริษัทของเราขัดข้องขึ้นมาล่ะก็ เมื่อนั้นเราจะทำได้แค่เพียงรู้สึกเสียดายที่มัวแต่นั่งคิดว่าจะติดตั้งดีรึเปล่า เพราะ Server ก็เปรียบเสมือนฮีโร่ที่ช่วยปกป้องและช่วยแก้ปัญหาในยามคับขันให้กับธุรกิจของเราได้ทุกเมื่อยาม 

แต่เราเข้าใจดีว่า ไม่ใช่ทุกบริษัทที่พร้อมจะมี Server เป็นของตัวเอง เพราะอย่างบางบริษัทอาจจะทำงานกันโดยที่ไม่จ้าง IT เลยสักคน ไม่มีทั้งเงินและเวลาจะหาคนมาคอยดูแล หรือแม้แต่ศึกษาเรื่อง Server อย่าถี่ถ้วนขนาดนั้น อยากจะทำอะไรที่เรียกว่า จ่ายเงินอย่างเดียว แล้วก็ให้คนเตรียมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างๆ ให้ทั้งหมด รวมถึงมีคนดูแลระบบให้ด้วย เรียกว่าจ่ายเงินอย่างเดียวได้ครบ ทั้งความรวดเร็ว ปลอดภัยต่างๆ โดยไม่ต้องมี IT มาคอยดูแลเรื่องพวกนี้ให้ VPS Hosting เป็นบริการให้เช่าพื้นที่บนในเซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บไฟล์เว็บไซต์ฐานข้อมูล แต่ที่นิยมตอนนี้คือบริการจาก VPS Hispeed ของเราเพราะตอบโจทย์ทุกอย่างได้หมดเลย ลองมาศึกษาบริการ VPS จากพวกเรา VPS Hispeed กันดู

small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review