Web 3.0 คืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

การใช้อินเทอร์เน็ตของเราถูกเปลี่ยนผ่านจาก Web 1.0 สู่ Web 2.0 จนในปัจจุบันมาถึงเวอร์ชั่น Web 3.0 ซึ่งเป็นแนวคิดรูปแบบของเว็บไซต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันไม่ใกล้ ไม่ไกลนี้ โดยคาดการณ์ว่า Web 3.0 จะเป็นยุคใหม่ของอินเทอร์เน็ตที่มีความฉลาดมากขึ้น 

สำหรับใครที่กำลังสนใจเรื่อง Web 3.0 เรามาทำความรู้จักเรื่องนี้ให้มากขึ้นกันเลย!

Web 3.0 คืออะไร?

ก่อนอื่นต้องเล่าก่อนว่า Web 3.0 เป็น Semantic Web หรือ ‘เว็บเชิงความหมาย’ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เริ่มจาก ‘ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี’ คนเดียวกันกับที่ริเริ่ม Web 1.0 ซึ่งเขามองว่าเว็บที่จะเป็น Web 3.0 ได้นั้น ต้องเกิดจากพัฒนาการถ่ายโอนระหว่างข้อมูลบนเว็บไซต์ ให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เกิดเป็นเครือข่ายทั่วทั้งโลก รวมถึงนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเช่น AI เข้ามาช่วยในการทำให้เว็บไซต์นั้นทำงานได้อย่างดีมากขึ้น

โดย Web 3.0 จะมีความฉลาดมากขึ้น สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล หรือทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Machine Learning (ML), Big Data, Artificial Intelligence (AI), Blockchain จึงสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของ Web 3.0

1. ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หรือบริการต่างๆ ได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องมีตัวกลางเข้ามาคอยควบคุม และทำการ Censorship การเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ เช่น บริการทางการเงินที่บางประเทศนั้นไม่อนุญาตให้มีการเปิดบัญชีธนาคารเป็นของตัวเองได้ เป็นต้น

2. มีความปลอดภัยและสิทธิความเป็นเจ้าของข้อมูล ซึ่ง Web 3.0 มีการใช้งานเทคโนโลยีเบื้องหลังของคริปโตฯ ต่างๆ เช่น Bitcoin, Ethereum, Polkadot เป็นต้น ทำให้ระบบการเก็บรักษาข้อมูลมีความปลอดภัย ตรวจสอบได้ 

3. Web 3.0 ไร้ตัวกลาง (Decentralized) มีการกระจายอำนาจผู้ใช้งาน ไม่ต้องติดต่อสื่อสารหากันผ่านตัวกลาง หรือเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ (เช่น สามารถติดต่อหากันได้โดยไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ของเฟซบุ๊กหรือกูเกิลเข้ามาเกี่ยวข้อง)

4. ผู้ใช้งาน Web 3.0 สามารถมีส่วนร่วมในการเข้ามาพัฒนาโค้ดของเว็บไซต์ หรือแก้บั๊กต่างๆ ร่วมกันจนสามารถใช้งานได้ 

ข้อเสียของ Web 3.0

1. เทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกับ Web 3.0 ยังมีไม่มากนัก

2. Web 3.0 มีข้อจำกัดด้านความสามารถในการขยาย (Scalability) อยู่ ทำให้การดำเนินธุรกรรมช้ากว่าเว็บไซต์แบบ Centralized เนื่องจากความเป็น Decentralized หมายถึงทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ จะต้องรอการดำเนินการของ Validator หรือ โหนด (Node) จากทั่วทั้งเครือข่ายด้วย

3. ผู้ใช้งานยังเข้าถึงการใช้งาน Web 3.0 ได้ยาก เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้งาน Web Browser ในปัจจุบัน ยังคงเชื่อมั่นต่อการใช้บริการจากแพลตฟอร์ม Web 2.0 มากกว่า

การเตรียมตัวเข้าสู่ Web 3.0 

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ หลายคนบอกว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมกว่าทุกครั้ง ด้วยความเชื่อมั่นว่า Web 3.0 จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้เปลี่ยนไปจากเดิมได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเราทุกคนจึงต้องเรียนรู้ และเตรียมการก้าวให้ทันกับกระแสเทคโนโลยียุคใหม่นี้ เพื่อความอยู่รอดในอนาคต และต้องพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา

ขณะนี้โลกของเราก้าวเข้าสู่มาตรฐานของ Web 3.0 แล้วอย่างแท้จริง แต่ข้อจำกัดตอนนี้คือต่อให้เราเข้าสู่โลก Metaverse ที่ไร้ตัวกลางแล้ว แต่การที่จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ยังคงต้องผ่านผู้ให้บริการอยู่ดี ดังนั้นถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ Web 3.0 อาจยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งนี้จะไม่มีวันเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีใบนี้ก็ยังไม่เคยหยุดพัฒนาสักนาทีเดียว

ท้ายสุด สำหรับหลายคนที่กำลังเริ่มทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก หรือกำลังอยากย้ายโฮสติ้งพอดี อย่าลืมแวะไปดูแพ็กเกจเว็บโฮงติ้งจาก VPS Hispeed กันนะ แพ็คเกจของเรามีหลากหลาย รองรับลูกค้าหลายประเภท แม้จะเป็นมือใหม่ก็ใช้งานได้ไม่ยาก สนใจติดต่อที่อีเมล [email protected] หรือทางเบอร์โทรศัพท์ 093 173 0181, 096 238 7242, 082 018 9138

small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review