มาดูวิธีเลือกเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ต้องเลือกยังไง?

ในการทำเว็บไซต์นั้นก่อนจะใช้งานได้จะต้องมีการฝากไฟล์ของเว็บไซต์ไปบนเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเรียกว่า เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ซึ่งเจ้าเว็บโฮสติ้งนั้นมีหลายแบบให้เลือกสรรให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของแต่ละเว็บไซต์

เกี่ยวกับเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting)

  • ความหมายของเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือเป็นการเช่าทรัพยากรบนเซิร์ฟเวอร์เอาไว้ฝากไฟล์ และข้อมูลต่างๆ ของเว็บไซต์ ทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนผ่านตัวเซิร์ฟเวอร์ 
  • เซิร์ฟเวอร์นั้นมีจะมีลักษณะทางกายภาพเป็นเครื่องขนาดใหญ่ ซึ่งเครื่องนี้เราที่เป็นผู้เช่าจะไม่สามารถที่จะเอาเครื่องมาเป็นของตัวเองแต่อย่างใด ตัวเครื่องจะอยู่ที่ผู้ให้บริการ และผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดการดูแลเครื่องทั้งหมด ตัวเราจะได้ใช้ทรัพยากรบนเครือข่ายนั้นเท่านั้น
  • ผู้เช่าโฮสติ้งอย่างเราจะเสียค่าบริการในการเช่าเป็นรายเดือน หรือรายปี แล้วแต่แผนที่เราตกลงซื้อ ซึ่งราคาก็มีตั้งแต่ถูกหลักพันต่อปี ไปจนถึงแบบหลักหมื่นต่อปี
  • รูปแบบของเว็บไซต์นั้นมีความหลากหลาย เจ้าของเว็บไซต์ควรเลือกรูปแบบโฮสติ้งให้เหมาะสมกับเนื้อหาและลักษณะของเว็บไซต์ 

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเมื่อเลือกบริการเว็บโฮสติ้ง

เมื่อเราพอเข้าใจและเห็นภาพเกี่ยวกับไอเดียของเว็บโฮสติ้งแล้ว ต่อไปก็มาดูปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาตอนเลือกบริการเว็บโฮสติ้งกันบ้าง

1. ผู้ให้บริการ (Service provider)

ผู้ให้บริการนั้นทางที่ดีควรเลือกบริษัทที่มีตัวตนแน่นอนและมั่นคง หรือมีชื่อเสียงที่ดีมายาวนานได้ยิ่งดี บริษัทนั้นๆ ควรมีทีม Support ที่ให้บริการในการดูแล ตอบคำถามและให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหาให้เราในกรณีที่มีเหตุขัดข้องได้ ซึ่งทำให้การเลือกผู้เช่าในประเทศนั้นตอบโจทย์มากกว่า เพราะสามารถสื่อสารกันได้อย่างทันท่วงที แต่แน่นอนว่ามีคนไทยส่วนหนึ่งที่ก็นิยมเช่าเว็บโฮสติ้งจากบริษัทต่างประเทศต่างๆ ที่มีชื่อเสียงอยู่เช่นกัน

อ่านต่อเรื่อง ผู้ให้บริการในประเทศ VS ต่างประเทศ

2. ระบบปฏิบัติการ (OS)

ระบบปฏิบัติการของเซิร์ฟเวอร์ที่เราเลือกใช้งานนั้นควรเหมาะสมกับภาษาที่เราใช้ในการสร้างเว็บไซต์ เช่น หากใช้ภาษา HTML และ PHP ก็ควรเลือกเป็น Linux Server ซึ่งเหมาะสมและมีราคาที่ถูกกว่า (เนื่องจากเป็นระบบเปิด ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ ของ Windows) แต่ถ้าเป็นภาษา ASP หรือ ASP.net จะต้องใช้เว็บโฮสติ้งที่เป็น Windows Hosting ที่จะมีค่าใช้จ่ายในสูงว่า (เพราะมีลิขสิทธิ์ Windows)

3. พื้นที่การใช้งาน (Space) 

ตอนที่เราเลือกแพ็กเกจนั้น โดยมากผู้ให้บริการจะระบุเอาไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่าจะให้พื้นที่การใช้งานกับเราเท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่าก่อนตกลงเลือกแพ็กเกจกับผู้ให้บริการนั้นเราต้องทำความเข้าใจเว็บของเราเองก่อนว่าเราเป็นเว็บไซต์แบบไหน มีความต้องการที่จะใช้พื้นที่มากน้อยแค่ไหน แล้วจึงค่อยมาเลือกพื้นที่ให้พอดี เผื่อเหลือเผื่อขาดได้ แต่ไม่ใช้ว่าเช่าพื้นที่เยอะๆ จนเหลือไว้เกินความจำเป็น อย่าลืมว่าเราสามารถซื้อพื้นที่เพิ่มได้ในอนาคต

4. แบนด์วิธ (Bandwidth) 

แบนด์วิธ คือ ปริมาณในการรับส่งข้อมูลเข้าออก ซึ่งจะสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเรา ยิ่งมีผู้เข้าชมเยอะต่อวันจำนวนมาก การรับส่งข้อมูลก็จะยิ่งมากตามไปด้วย ซึ่งผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งของเราอาจจะให้แบนด์วิธมาแบบจำกัดในแต่ละเดือน มีลิมิต ถ้าเกิดลิมิตเว็บก็จะเกิดอาการแฮงค์ได้ ดังนั้น ควรสอบถามในเรื่องนี้ให้แน่ใจว่าเราจะได้แบนด์วิธลิมิตที่เท่าไหร่ จำกัดหรือไม่จำกัด แล้วมีค่าใช้จ่ายเพิ่มหรือไม่ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบนด์วิธ

5. ราคา (Price) 

แน่นอนว่าราคาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ แต่ละที่จะมีการเสนอราคาของบริการที่แตกต่างกันไปตามรายละเอียดในข้อเสนอของแต่ละแพ็กเกจ แต่การเลือกเช่าโฮสติ้งนั้น บางครั้งแพ็กเกจที่ถูกก็ไม่ได้ว่าดีเสมอไป การเสนอราคาต่ำมากๆ อาจมาพร้อมกับการใช้ซอร์ฟแวร์ที่เลี่ยงลิขสิทธิ์ หรือการให้บริการที่ไม่มีคุณภาพก็ได้ ราคาสามารถเป็นส่วนประกอบการตัดสินใจได้ เพราะเราควรได้ราคาที่สมเหตุสมผลกับบริการ แต่ไม่ใช่ข้อพิจารณาอันดับหนึ่ง

สรุป

จบไปแล้วกับปัจจัยทั้ง 5 ประเด็นที่ผู้อ่านสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้ง ลองเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียดูกันไปทีละข้อๆ ว่าเจ้าไหน ข้อเสนอไหน แพ็กเกจไหนจะเหมาะสม ตรงกับการใช้งาน และจุดประสงค์ของเราเว็บไซต์ของเรามากที่สุดกันค่ะ

small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review

Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful. You can find full details of our Privacy Policy here.