12 เทคนิคเพิ่มความเร็ว WordPress ให้เว็บโหลดเร็ว!

เคยมั้ย เวลากดลิงก์เข้าชมบางเว็บไซต์แล้วรู้ว่ามันนานแสนนานกว่าหน้าเว็บจะโหลดเสร็จ จนบางครั้งก็ต้องถึงกับทำหน้าฉงนว่ามันเป็นที่เว็บไซต์หรือเป็นที่อินเทอร์เน็ตบ้านเราเองกันแน่ ซึ่งจริงๆ แล้วส่วนใหญ่ การที่หน้าเว็บไซต์เกิดอาการโหลดช้าหรือค้างเติ่งนั้นนั่นก็เป็นเพราะว่า เจ้าของเว็บไซต์ขาดเทคนิคเพิ่มความเร็วให้กับเจ้าตัวเว็บไซต์นั่นเอง 

ซึ่งวันนี้ เราจะไปติดจรวดทำเว็บให้โหลดเร็วพร้อมๆ กันด้วยเทคนิค WordPress ทำยังไงให้หน้าเว็บมีความเร็วไวกว่าแสง เทคนิคง่ายๆ มีเท่านี้เอง!

1. เรื่องของ Theme ก็สำคัญ

เพราะการเลือก Theme ผิดจะส่งผลต่อความเร็วของตัวเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน โดย Theme ที่ดีและเร็วมากๆ ตัวหนึ่งเลยก็คือ Genesis Framework ของ WPEngine และ Themeforest ที่ค่อนข้างจะเป็นที่นิยมในหมู่แวดวงการเพิ่มความเร็วของเว็บนั่นเอง 

การเลือกใช้ Page Builder ซึ่งเป็นตัวช่วยให้เราสามารถปรับแต่งหน้าเว็บให้สวยงามด้วยปลายเม้าส์คลิกก็เช่นกัน จะต้องเลือกให้ดี เลือกพลาดอาจทำให้เว็บเรากลายเป็นหนักแล้วอืดได้ 

2. ต้องบีบอัดรูปภาพ

รูปภาพถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลให้หน้าเว็บของเรานั้นเร็วขึ้นหรือช้าลง ซึ่งเมื่อเรานำไฟล์รูปไปเข้าโปรแกรมบีบอัดรูปภาพก็จะทำให้ขนาดของไฟล์ภาพนั้นมีขนาดเล็กลงมากถึง 60% กันเลยทีเดียวล่ะ ซึ่งตัวที่เราอยากจะแนะนำก็มี ShortPixel, Imagify, Compress JPEG หรือ Smush Image ที่เป็นปลั๊กอินชื่อดังนั่นเอง 

โดยไฟล์ PNG จะเป็นไฟล์ที่เหมาะกับงานกราฟฟิค ส่วนไฟล์ JPEG จะเหมาะกับรูปถ่าย แต่ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ไหนก็สามารถบีบอัดก่อนอัพโหลดขึ้นเว็บได้ง่าย เครื่องมือออนไลน์มีให้เลือกมากมายตามที่เราสะดวกจะใช้ 

คำศัพท์เวลาเรากด compress (บีบอัด) ภาพมีอย่างสองคำด้วยกัน ที่จะทำให้ได้ผลที่แตกต่างกัน

Lossy – ใช้บีบอัดขนาดรูปที่มีขนาดใหญ่มาก และจะเสียคุณภาพและความคมชัดของรูป

Lossless – ใช้บีบอัดรูปที่ขนาดเล็กลงมาหน่อย แต่คุณภาพและความคมชัดของรูปไม่เสีย

3. ติดตั้ง Plugin เท่าที่จำเป็น

เนื่องจากการติดตั้ง Plugin น้อยเกินไป ก็ทำให้เว็บทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพมากพอตามที่เราต้องการ แต่ถ้าติดตั้งมากเกินไปก็ทำให้เว็บโหลดช้าลงอีก ซึ่งอาจจะเป็นเฉพาะบางปลั๊กอิน ไม่ใช่ว่าเป็นทุกตัว ใครที่โหลดปลั๊กอินไว้เยอะ อาจจะต้องมานั่งดูกันว่าปลั๊กอินอันไหนที่ไม่ต้องการ แล้วอันไหนที่เป็นตัวการทำให้เว็บช้า 

4. ใช้ Content Delivery Network หรือ CDN

หากเราใช้ CDN เข้ามาช่วยเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ของเราล่ะก็ มันจะช่วยให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นไปอีก อย่างเช่น Cloudflare นั้นถือเป็นเจ้าดังที่ให้บริการทางด้าน CDN แบบโดยเฉพาะ แถมให้บริการ ฟรี! อีกด้วยนั่นเอง อีกทั้ง CDN ความเจ๋งของมันยังช่วยป้องกันเหล่าแฮกเกอร์ให้ไม่สามารถเข้ามาล้วงลับเอาข้อมูลของเราไปแบบง่ายๆ ได้อีกด้วยล่ะ

5. เก็บ Cache ใน Browser 

เพราะการเก็บ Cache บนบราวเซอร์นั้นจะช่วยทำให้เว็บโหลดเร็วมากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งก็คือการฝังข้อมูลเล็กๆ อย่างคุ้กกี้ลงบน Browser อย่าง Chrome, IE, และ Firefox นั่นเอง เมื่อเป็นแบบนั้นถ้าเกิดว่ามีผู้เข้าชมเว็บที่ได้ฝังคุ้กกี้ลงไปในเบราเซอร์เข้ามาชมเว็บอีกครั้ง ก็โหลดเว็บครั้งใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องโหลดใหม่ตั้งแต่แรก การโหลดเว็บสำหรับผู้เข้าชมก็จำเร็วขึ้นกว่าเดิมที่ควรเป็น

6. ใช้วิธีการ Minify Code และ Concatenate Files

เนื่องจากทั้งสองตัวนี้จะช่วยทำให้ขนาดและจำนวนโค้ดของเว็บไซต์เรานั้นมีขนาดเล็กลงได้ ซึ่งการ Minify Code ก็คือนำส่วนของโค้ดหรือสิ่งที่ไม่จำเป็นต่างๆ ออก และการ Concatenate Files ก็คือ การรวมไฟล์หลายไฟล์ให้มาอยู่ในไฟล์เดียวกันนั่นเอง โดยตัวที่ทางเราอยากจะขอแนะนำก็คือ Autoptimize เพราะสามารถทำงานได้ทั้งสองอย่างเลยทีเดียวล่ะ

7. ใส่ข้อมูลจากเว็บนอกให้น้อยที่สุด

เพราะบางเว็บไซต์ชอบนำข้อมูลเว็บจาก Youtube หรือนำรูปที่มาจากเว็บด้านนอกมาแปะ ซึ่งบางครั้งเราก็ไม่รู้เลยว่า ขนาดที่เรานำมาแปะในเว็บไซต์ของเรานั้นมันจะทำให้เว็บเราหน่วงลงขนาดไหน ดังนั้น ทางที่ดี ก่อนจะนำข้อมูลลงมาแปะในเว็บไซต์ของเรานั้นก็ต้องศึกษาให้ดีก่อนนั่นเอง อย่าแปะไฟล์อะไรให้ใหญ่ หรือเยอะสิ่งมากจนเกินไป

8. ทำ Lazy Load

การทำ Lazy Load จะเหมาะมากๆ กับเว็บไซต์ที่มีรูปเยอะ และมีเนื้อหาเยอะเป็นบล็อคหลายหัวข้อ ซึ่งถ้าเราทำ Lazy Load เมื่อผู้ชมยังเลื่อนลงมาไม่ถึงด้านล่าง รูปก็จะยังไม่ทำการโหลดขึ้นมาให้เห็น วิธีนี้ก็จะช่วยเพิ่มความเร็วเว็บได้มากโขเลยทีเดียวเชียวล่ะ

9. ลบ Render-blocking Javascript

ตอนที่เว็บกำลังโหลด เบราเซอร์ต้องสร้าง DOM tree เพื่อวิเคราะห์โค้ด HTML ในระหว่างที่กำลังโหลดถ้าเกิดเบราเซอร์ต้องเจอ Script ระหว่างทาง ก็จะทำให้การโหลดหยุดชะงักไปครู่หนึ่ง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ Google ก็จะขอให้เว็บไซต์ทั้งหลายหลีกเลี่ยงการใช้ blocking JavaScript ซึ่งเรื่องนี้อาจจะต้องปรึกษาคนที่เขียนเว็บให้กับเราว่าเว็บมีปัญหานี้ไหม ต้องแก้ยังไง

10. ลดการ Redirects

การ redirect จากเพจหนึ่งไปอีกเพจหนึ่ง ทำให้ผู้เข้าชมเพจต้องเจอกับการโหลดที่ยาวนานขึ้น แม้จะแค่เล็กน้อย แต่ก็ยังนับว่าเป็นการทำให้สปีดลดลงอยู่ดี แม้จะไป homepage เหมือนกันแต่แพทเทิร์นกลายเป็น www. กับ m. ที่แตกต่างกันก็ทำให้การโหลดช้าลงแล้ว ดังนั้นจะให้ดีที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการใช้การ redirect ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ

11. ลดขนาดของ CSS, JavaScript และ  HTML

โค้ดที่ใช้ก็ต้องการการย่อส่วนเช่นกัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้คนที่เขียนโค้ดเป็นจะเข้าใจว่าต้องทำยังไง เช่น ลบโค้ดที่ไม่ต้องการออก การลบอักขระหรือเครื่องหมายวรรคตอนอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นออกไป การจัดฟอร์แมตให้สวยงาม เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ล้วนมีส่วนสำคัญให้เว็บเพจโหลดเร็วขึ้นได้

12. เลือก Hosting ให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

การเลือก Hosting นั้น เปรียบเสมือนการเลือกทำเลที่ตั้งในการขายของ ถ้าเราเลือกทำเลดี เราก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าตามไปด้วยนั่นเอง ซึ่งข้อมูลทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา รูปภาพ หรือข้อมูลต่างๆ นานานั้น จะถูกรวบรวมและฝากฝังอยู่บน Hosting ที่เราเลือกขึ้นมานั่นเอง 

โดยการเลือกจะอ้างอิงจากการพิจารณาด้วยลักษณะการใช้งานของเรา ชื่อเสียงของบริษัท ตำแหน่งที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์ เทคนิคคอลซัพพอร์ต ราคาหรืออื่นๆ ตามแต่ความเหมาะสมนั่นเอง อีกทั้งโฮสติ้งที่ดีจะต้องมีเวอร์ชั่นของ PHP อยู่ที่ 7+ มี MySQL 5.6+ และหน่วยความจำต่ำสุดที่ 64 MB หรือถ้าได้ที่ 128 MB+ ก็จะได้เปรียบมากๆ โดยเวลาโหลดของเว็บไซต์ที่เหมาะสมนั้นมีควรอยู่ในประมาณไม่เกิน 200 ms.

แล้วสำหรับหลายคนที่กำลังเริ่มทำเว็บไซต์ หรือกำลังอยากย้ายโฮสติ้งพอดี อย่าลืมแวะไปดูแพ็กเกจเว็บโฮงติ้งจาก VPS Hispeed กันนะ แพ็คเกจของเรามีหลากหลาย รองรับลูกค้าหลายประเภท แม้จะเป็นมือใหม่ก็ใช้งานได้ไม่ยาก สนใจติดต่อที่อีเมล [email protected] หรือทางเบอร์โทรศัพท์ 093 173 0181, 096 238 7242, 082 018 9138

สรุป

ซึ่งทางเราก็ขอรับรองตรงนี้เลยว่า หากทุกคนลองนำทั้ง 12 ข้อนี้ไปลองปรับใช้งานกับหน้าเว็บไซต์ของตัวเองกันดูล่ะก็ จะต้องร้องทึ่งในความเร็วปานจรวดของเว็บเราในแบบที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อนที่ไหนแน่นอน และการที่เว็บไซต์ของเรามีความเร็วไวดุจความไวแสงนี่แหละ ก็จะช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ติดใจและอยากจะกดเข้ามาใช้งานเว็บเราในทุกๆ วัน เพราะลองคิดภาพตามดูนะ เมื่อเรารู้ว่าเว็บนี้โหลดช้า เราก็คงไม่อยากจะกลับมาใช้บริการอีกแล้วในวันหน้า

อีกทั้งหากใครได้ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้แล้วอยากรู้ว่าความเร็วเว็บเราเพิ่มขึ้นบ้างมั้ย ก็ลองไปใช้บริการเช็กความเร็วในเว็บ GTMetrix, Pingdom, และ Google PageSpeed กันได้เลย เพื่อจะได้หาต้นตอกันได้แบบถูกจุด ว่าสรุปแล้วที่เว็บเราช้านั้น มันช้าเพราะอะไร จะได้มาแก้ไขกันต่อไปให้ถูกที่และถูกทางนั่นเอง

วิธีการลง WordPress บน VPS HiSpeed
WordPress Hosting ราคาถูก จาก VPS HiSpeed
small_c_popup.png

บริการ Premium VPS และ Cloud Hosting เร็วกว่าด้วยเซิร์ฟเวอร์ในไทย

รับส่วนลด 50%

รับส่วนลด 50% ท้าให้ลอง VPS ที่ได้รับรีวิวบริการดีเยี่ยมสูงสุดใน Google Review